สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
29 นววรรณ พั นธุเมธา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ อย่างไรก็ดี ในหนังสือ พระด� ำรัสสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ปรารภ แบบอักษรไทยที่ใช้ส� ำหรับบาลี หน้า ๑-๒ มีข้อความว่า ...เมื่อรัชกาลที่ ๔ ตอนปลาย ภายหลัง พ.ศ. ๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งแบบอักษรไทยส� ำหรับใช้ในบาลีขึ้นใหม่ เพื่อใช้แทน อักษรอริยกะที่ทรงประดิษฐไว้เมื่อครั้งยังทรงผนวชฯ พยัญชนะไม่มีสระ อะ อิง ใช้เครื่องหมายดังนี้ บนพยัญชนะ เช่น อนุต์ตโร เรียกว่า วัญฌการ แปลว่า ไม้หมัน หรือไม้สะกด ฯ ข้อความข้างต้นท� ำให้เกิดข้อสงสัยว่า เครื่องหมายที่ใช้เขียนบนตัวสะกดในค� ำภาษาบาลีและ สันสกฤตเรียกว่า ทัณฑฆาต หรือ วัญฌการ ข้อสงสัยนี้จะหมดไป หากอ่านหนังสือ ภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) มีบทกลอนในหนังสือดังกล่าว หน้า ๗๖๙-๗๗๐ ว่า แบบบุราณท่านเรียกทัณฑฆาฏ ของนักปราชต้นบัญญัติท่านจัดสรร ส� ำหรับฆ่าอักษรส่อส� ำคัญ สังเกตกันว่าไม่อ่านนาน ๆ มี หนึ่งสมเด็จวัดราชประดิฐ ท่านได้คิดชื่อใหม่ของไม้นี่ ให้ถูกต้องตามมคธบทบาฬี โดยวาทีท่านเรียกวัญชะการ แปลว่าท� ำตัวหนังสือให้เป็นหมัน ให้รู้กับว่าตัวนี้ไม่ต้องอ่าน แต่ท่านใช้ไว้ประจ� ำค� ำใบลาน ไม่สาธารณ์ทั่วมาภาษาไทย ค� ำว่า วัญชะการ ในบทกลอนข้างต้นน่าจะเป็นค� ำเดียวกับค� ำว่า วัญฌการ ในหนังสือ พระด� ำรัส ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ แต่เดิมมาเครื่องหมายที่ใช้เขียนบนตัวสะกดของค� ำบาลีและสันสกฤต เพื่อฆ่าเสียงไม่ให้มีสระ อะ ก� ำกับ เรียกว่า ทัณฑฆาต แต่ต่อมาเรียกว่า วัญฌการ ซึ่งเขียนเป็น วัญชะการ ก็มี เครื่องหมายวัญฌการนี้ ต่อมาได้เลิกใช้ไป ใช้เครื่องหมายพินทุแทน ผู้ทรงริเริ่มให้ใช้เครื่องหมาย พินทุ คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และปีที่เริ่มใช้เครื่องหมายพินทุน่าจะ เป็นพุทธศักราช ๒๔๖๑ ทั้งนี้เพราะมีพระด� ำรัสปรารภแบบอักษรไทยที่ใช้ส� ำหรับบาลีในปีนั้น ตอนท้าย พระด� ำรัสมีข้อความเกี่ยวกับการพิมพ์แบบเรียนพระปริยัติธรรมส� ำหรับใช้สอนที่มหามกุฏราชวิทยาลัยว่า ทรงพบความไม่สะดวกต่าง ๆ ในการใช้อักษรตามแบบเดิม มีทางแก้ทางหนึ่งคือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=