สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ค� ำถามเกี่ ยวกั บทั ณฑมาต 28 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 2 Apr-June 2015 ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ ๔ มีค� ำว่า เสดจ์ เสรจ์ กรมสมเดจ์พระเดชาดิศร พิศม์ สงกรานต์ ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การใช้ทัณฑฆาตเหนือตัวสะกดคง จะเลิกใช้ไป หนังสือ พระราชพงษาวดาร ฉบับพิมพ์ ร.ศ. ๑๒๐ มีการใช้ทัณฑฆาตฆ่าอักษรต่าง ๆ ดังนี้ ๑. ใช้ทัณฑฆาตฆ่าเสียงสระ อิ หรือ อุ ซึ่งอยู่ท้ายพยางค์ เช่น สมบัติ์ เหตุ์ (น. ๘๑) พระเมร์ุมาศ (น. ๑๓๙), ภูมิ์ ชาติ์ (น. ๑๔๐), มหาธาตุ์ (น. ๑๔๖) ๒. ใช้ทัณฑฆาตฆ่าเสียง ร ท้ายพยางค์ในกรณีที่ ร ควบกับพยัญชนะอื่น เช่น นิมิตร์ (น. ๘๑), ฉัตร์ (น. ๘๒), เพชร์บุรี (น. ๑๖๒), พระราชบุตร์, ชีวิตร์ (น. ๑๘๐) ๓. ใช้ทัณฑฆาตฆ่าทั้งพยัญชนะและสระ คือฆ่าพยางค์ทั้งพยางค์ เช่น นนท์บุรี (น. ๑๖๒) ค� ำที่ยกตัวอย่างมานี้หลายค� ำพบใน จินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี ด้วย บางค� ำ จินดามณีฯ ไม่ใช้ ทัณฑฆาต เช่น ภูมิ บุตร ฉัตร นิมิต เพชรบุรี นนทบุรี แต่บางค� ำก็ใช้ทัณฑฆาต เช่น ธาตุ์ สรุปว่าการ ใช้ทัณฑฆาตเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย การใช้ทัณฑฆาตกลางพยางค์น่าจะเพิ่งมีในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง เช่น ค� ำว่า สาส์น ในชื่อหนังสือ สาส์นสมเด็จ ค� ำถามที่ว่าคนไทยเคยนิยมใช้ทัณฑฆาตกลางค� ำหรือกล่าวให้ ชัดเจนว่า กลางพยางค์หรือไม่ ตอบได้ว่า เคย ถ้าย้อนไปเพียงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ๕. เครื่องหมายที่ใช้เขียนบนตัวสะกดของค� ำบาลีและสันสกฤตคือทัณฑฆาตหรือวัญฌการ พระยาอุปกิตศิลปสารเขียนถึงทัณฑฆาตไว้ในหนังสือ หลักภาษาไทย หน้า ๘-๙ ว่า  เรียก ทัณฑฆาต ส� ำหรับเขียนข้างบน เพื่อให้รู้ว่าเป็นตัวการันต์ ไม่ต้อง อ่าน เช่น ‘ฤทธิ์’ ตัว ธิ ไม่ต้องอ่าน ส� ำหรับค� ำภาษาไทยนี้อย่างหนึ่ง ส� ำหรับ ค� ำบาลีและสันสกฤต เพื่อให้รู้ว่าเป็นตัวสะกด เช่น ‘สิน์ธู’ ตัว น เป็นตัวสะกด นี้อย่างหนึ่ง ในหนังสือ หลักเกณฑ์การใช้ เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์ การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนค� ำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หน้า ๕๑ ก็มีข้อความว่า ๘. ทัณฑฆาต ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้  มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้ ๑. สมัยก่อนใช้เขียนในภาษาบาลีเพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นตัวสะกด ตัวอย่าง (๑) พุท์โธ อันว่าพระพุทธเจ้า (๒) ภวัน์ตา อันว่าท่านทั้งหลาย (๓) ภิก์ขโว อันว่าภิกษุทั้งหลาย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=