สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ค� ำถามเกี่ ยวกั บทั ณฑมาต 26 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 2 Apr-June 2015 อย่างไรก็ตาม อาจารย์ก� ำชัย ทองหล่อ กล่าวในหนังสือ หลักภาษาไทย หน้า ๑๐๗ ว่า ...ตัวการันต์นั้นจะอยู่สุดท้ายของค� ำหรืออยู่ระหว่างกลางค� ำก็ได้ เช่น :- ฉันท์ สาส์น ชอล์ก เปอร์เซน เปนต้น ชนิดที่อยู่ระหว่างกลางค� ำ โบราณนิยมใช้ เขียนอยู่ทั่วไป เช่น มาร์ค นาร์ถ ธรร์ม แต่บัดนี้นิยมใช้เฉพาะบางค� ำเท่านั้น ค� ำถามจึงมีว่า คนไทยแต่ก่อนนิยมใช้ทัณฑฆาตกลางค� ำหรือไม่ ค� ำถามนี้จะตอบได้ก็ต้องอาศัยการส� ำรวจแบบเรียนภาษาไทยแต่ก่อนว่ากล่าวถึงทัณฑฆาต ไว้อย่างไร แบบเรียนสมัยแรก ๆ กล่าวว่า ทัณฑฆาตใช้ฆ่าอักษรหลัง ซึ่งหมายถึง อักษรสุดท้ายของค� ำ แต่แบบเรียนสมัยหลัง ๆ กล่าวแต่เพียงว่าทัณฑฆาตใช้ฆ่าอักษร มิได้เน้นว่าต้องเป็นอักษรหลัง ใน จินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี ซึ่งอยู่ในหนังสือ จินดามณี เล่ม ๑-๒ หน้า ๒๙ มีโคลงบทหนึ่ง กล่าวถึง ทัณฑฆาต ว่า เปนเสมียรรอบรู้ วิสัญช์ พินเอกพินโททัณฑ- ฆาฏคู้ ฝนทองอีกฟองมัน นฤคหิต นั้นนา แปดสิ่งนี้ใครรู้ จึ่งให้เปนเสมียร ใน จินดามณี ฉบับนี้ ไม่ได้อธิบายวิธีใช้ทัณฑฆาต แต่พบตัวอย่างค� ำที่ใช้ทัณฑฆาตบางค� ำ สันนิษฐาน ได้ว่า ทัณฑฆาตใช้ก� ำกับพยัญชนะตัวท้ายไม่ให้ออกเสียง คือใช้เหมือนอย่างที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น องค์ หงส์ ฉันท์ แต่บางค� ำก็ใช้ก� ำกับตัวสะกด เช่น พระมหาธาตุ์ รัส์โส เกียจ์กล ต่อมา จินดามณี ฉบับสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งอยู่ในหนังสือ จินดามณี เล่ม ๑-๒ หน้า ๒๑๑ อธิบายวิธีใช้ทัณฑฆาตไว้ดังนี้ …แลไม้ทัณฑฆาฎ นี ใส่ฆ่าอักษรหลงหมีให้ออกชื่อหยางดุจ์นี อย่าว่าดุจ์ จะ ให้อ่านเปนค� ำเดียวว่า ดุจ์นั้นดุจ์นี จึงชอบแล... ใน จินดามณี ฉบับดังกล่าว มีค� ำหลายค� ำที่มีทัณฑฆาตก� ำกับ บางค� ำทัณฑฆาตอยู่เหนือตัวสะกด แต่บางค� ำทัณฑฆาตอยู่เหนือพยัญชนะตัวท้าย ซึ่งไม่ใช่ตัวสะกด ดังค� ำว่า อุจ์จารณวิธี และ ก� ำภีร์ ในข้อความ หน้า ๒๑๔ ต่อไปนี้ ...เรื่องนยงงมีมากอยู พึ่งรู้ใน เกอย พิษฎาร อันแก้ เกา กัว เขา ขัว เคา คัว แล แก กวู ขวู ควู แล แก้ กวะ น้นนด้วย จึงจะอานชอบ จึงจะเหนบุราน แนะไว้นั้นผิดแท้แลฯ ชอบใน พระก� ำภีร์อุจ์จารณวิธีฯ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=