สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

25 นววรรณ พั นธุเมธา วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ ๓. ทัณฑฆาตมาจากไหน ผู้เชี่ยวชาญการอ่านจารึกกล่าวว่า ไม่พบเครื่องหมายทัณฑฆาตในจารึกสมัยสุโขทัย ทัณฑฆาต น่าจะเริ่มมีใช้ในสมัยอยุธยา ไทยอาจรับเครื่องหมายนี้มาจากเขมร ศาสตราจารย์ฉ�่ ำ ทองค� ำวรรณ กล่าวถึงเครื่องหมายทัณฑฆาตไว้ในหนังสือ หลักภาษาเขมร หน้า ๓๓ ดังนี้ เครื่องหมายทัณฑฆาต เครื่องหมายอย่างนี้  เขมร เรียกว่า ทณฺฑฆาต (เตือนเดียะเฆียด) คือตรงกับไม้ทัณฑฆาตของไทย ใช้ส� ำหรับฆ่าอักษร ไม่ต้อง ออกเสียง... ในอักขรวิธีเขมร ถ้าค� ำใดมีตัวสะกดตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป เขาก็ไม่ใช้ไม้ ทัณฑฆาต แต่เขาอ่านเหมือนมีไม้ทัณฑฆาตฆ่าอักษรตัวท้ายก็ได้... ส� ำหรับอักษร เขมรที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤต ถ้าตัวใดมีไม้ทัณฑฆาต ตัวนั้นนับเป็นตัวสะกด แต่ ไม่ออกเสียง เห็นได้ว่า ทัณฑฆาตของไทยกับของเขมรมีชื่อเหมือนกันและใช้ส� ำหรับฆ่าอักษรเช่นเดียวกัน ๔. คนไทยเคยนิยมใช้ทัณฑฆาตกลางค� ำหรือไม่ ศาสตราจารย์จ� ำนงค์ ทองประเสริฐ เขียนไว้ในบทความเรื่อง “อัจฉริยลักษณ์ในการปรับเสียง ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย” ในหนังสือชื่อ พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านภาษาไทย หน้า ๑๐๔ ว่า ...เท่าที่ข้าพเจ้าได้สังเกตมา ค� ำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เมื่อ น� ำมาใช้ในภาษาไทยแล้ว ท่านไม่นิยมการันต์กลางค� ำ เช่น ค� ำว่า “พราหมณ์” และ “พรหม” ท่านก็ไม่การันต์ตัว ห เป็น “พราห์มณ์” และ “พรห์ม” โดยไม่ต้อง เกรงว่าใครจะอ่านเป็น “พฺรา-หม” หรือ “พอน-หม” ค� ำว่า “สามารถ” ก็ไม่การันต์ ตัว ร ท่านก็ไม่กลัวว่าใครจะอ่าน “สา-มา-รด” หรือค� ำว่า “ปรารถนา” ก็มิได้การันต์ตัว ร หน้า ถ เป็น “ปราร์ถนา” ท่านก็ไม่เกรงว่าใครจะอ่าน “ปฺรา-รด-นา” เรื่องอย่างนี้ก็ต้องมีครูอาจารย์อบรมสั่งสอน การอ่านผิดอ่านถูกก็ แสดงถึงความรู้ความสามารถของผู้อ่านว่าได้ศึกษามามากน้อยเพียงใด... ค� ำว่า การันต์ ในข้อความข้างต้นหมายถึง การใช้ทัณฑฆาต ศาสตราจารย์จ� ำนงค์สังเกตเห็นว่า คนไทยแต่ก่อนไม่นิยมการันต์กลางค� ำ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ไม่นิยมใช้ทัณฑฆาตกลางค� ำที่มาจาก ภาษาบาลีและสันสกฤต

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=