สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ค� ำถามเกี่ ยวกั บทั ณฑมาต 24 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 2 Apr-June 2015 พจนานุกรมฯ บอกว่า การันต์คือตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตก� ำกับ อย่างไรก็ตาม แม้ตัวอักษรที่ไม่มี ไม้ทัณฑฆาตก� ำกับก็เป็นตัวการันต์ได้ ดังที่พระยาอุปกิตศิลปสารกล่าวในหนังสือ หลักภาษาไทย หน้า ๒๖ ว่า อักษรน� ำทั้งปวง ตัวน� ำเป็นตัวสะกด ตัวตามหลัง ถ้าไม่อ่านเป็นพยางค์ ต่อไป ต้องนับว่าเป็นตัวการันต์ เช่น ทิพย์ กฤษณ์ ดังนี้ พ และ ษ เป็นตัวสะกด ย และ ณ เป็นตัวการันต์ บางทีท่านก็ไม่ใช้ไม้ทัณฑฆาต ดังนี้ ทิพย กฤษณ ค� ำอธิบายข้างต้นแสดงว่า ตัวการันต์อาจไม่มีทัณฑฆาตก� ำกับก็ได้ ตัวการันต์นั้น แต่เดิมไม่ได้ เกี่ยวข้องกับทัณฑฆาต ไทยยืมค� ำ การันต์ จากภาษาบาลีและสันสกฤต ในภาษาบาลีทุกศัพท์ต้องมีสระการันต์ คือ มีสระ เช่น อิ อี อุ อู ท้ายศัพท์ ส่วนภาษาสันสกฤตอาจมีพยัญชนะการันต์ คือพยัญชนะท้ายศัพท์ได้ เช่น มี ต การันต์ น การันต์ แบบเรียนภาษาไทยแต่เดิมมามิได้กล่าวถึงการันต์ แต่ในแบบเรียนชื่อ พิศาลการันต์ ซึ่งอยู่ใน หนังสือ ภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หน้า ๓๐๓-๓๐๔ ได้กล่าวถึงการันต์ ไว้อย่างชัดเจน ดังนี้ อักษรบ่อนนี้ชื่อ การันต์ คือบอกตัวส� ำคัญ เพิ่มท้าย หากเติมเพื่อเพ็ญผัน ตามพากย์ เปลี่ยน ๆ เวียนยักย้าย ย่อมสร้อยเศศเสริม  วิธีใช้ถ้อยค� ำขบวนหนึ่ง มีอักษรเพิ่มไว้ข้างท้ายค� ำ แต่มิใช่ตัวสะกด เติมลงไว้เพื่อจะให้เต็มค� ำซึ่งมาแต่ภาษามคธ แลเสียงภาษาอื่นบ้าง เสียงไทย อ่านไม่ตลอดไปถึง จึ่งลงไม้  ไว้เป็นที่สังเกตว่าไม่อ่าน ควรเรียกชื่อว่า การันต์ ยักย้ายตามตัวที่เติมท้ายค� ำ คือ (ก) การันต์ (ข) การันต์ (ค) การันต์ เป็นต้น ชักมาเทียบไว้เป็นตัวอย่าง ดังนี้  (ก) การันต์ มีตัว (ก) เติมท้ายไม่อ่าน คือ ค� ำว่า บัลลังก์ เขาวงก์ คลองมหาวงก์... สรุปว่า การันต์คือตัวอักษรที่ใส่ข้างท้าย แต่ไม่ออกเสียง วิธีแสดงว่า อักษรไม่ออกเสียงก็คือ ใส่ทัณฑฆาต ตัวการันต์ส่วนใหญ่จึงมีไม้ทัณฑฆาตก� ำกับไว้ การันต์กับทัณฑฆาตเป็นอักษรและเครื่องหมาย ที่ปรากฏคู่กันเสมอ ๆ จนในที่สุด เมื่อกล่าวว่า การันต์ คือ “ตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตก� ำกับ” ก็ดูเหมือน จะถูกต้อง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=