สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ ค� ำถามเกี่ยวกับทัณฑฆาต* นววรรณ พันธุเมธา ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา ค� ำว่า ทัณฑฆาต พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายไว้ในหน้า ๕๖๐ ว่า “ทัณฑฆาต [ทันทะ-] น. ชื่อเครื่องหมายส� ำหรับฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง มีรูปดังนี้ ์.” มีค� ำถามเกี่ยวกับทัณฑฆาต ดังต่อไปนี้ ๑. ทัณฑฆาตไม่ควรเขียนกลางค� ำสมาสใช่หรือไม่ ๒. เหตุใดมีผู้เรียกทัณฑฆาตว่าการันต์ ๓. ทัณฑฆาตมาจากไหน ๔. คนไทยเคยนิยมใช้ทัณฑฆาตกลางค� ำหรือไม่ ๕. เครื่องหมายที่ใช้เขียนบนตัวสะกดของค� ำบาลีและสันสกฤตคือ ทัณฑฆาตหรือวัญฌการ * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งศึกษาการใช้ทัณฑฆาตและตอบค� ำถามบางประการ ค� ำถามที่น� ำไปสู่ประเด็น ถกเถียงกันประการหนึ่งคือ ทัณฑฆาตใช้เขียนกลางค� ำสมาสได้หรือไม่ ค� ำถามนี้ตอบได้ว่า กฎที่ห้ามไม่ให้ เขียนทัณฑฆาตกลางค� ำสมาสน่าจะก� ำหนดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๑ นี้เอง ก่อนหน้านั้น มีทัณฑฆาต เหนือตัวอักษรกลางค� ำสมาสจ� ำนวนมาก นอกจากค� ำถามนี้ มีค� ำนามอื่น ๆ เกี่ยวกับทัณฑฆาตที่บทความ นี้พยายามตอบ ได้แก่ ค� ำถามที่ว่าเหตุใดมีผู้เรียกทัณฑฆาตว่าการันต์, ทัณฑฆาตมาจากไหน, คนไทยเคย นิยมใช้ทัณฑฆาตกลางค� ำหรือไม่ และเครื่องหมายที่สมัยหนึ่งเคยใช้เขียนบนตัวสะกดของค� ำบาลีและ สันสกฤต เรียกว่า ทัณฑฆาตหรือวัญฌการ ค� ำส� ำคัญ :  ทัณฑฆาต, การรันต์, วัญฌการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=