สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

19 มาลิ ทั ต พรหมทั ตตเวที วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ จุ่มเข้าไปในซากหมูแล้วดื่มเลือดอุ่น ๆ จากนั้นผู้ช่วยก็จะพาเขาไปนั่ง แล้วนักบวชก็จะกล่าวค� ำท� ำนาย  เชื่อกันว่าโดยผ่านการดื่มเลือดหมูนักบวชจะถูกสิงโดยวิญญาณที่มีอ� ำนาจในการพยากรณ์ รูปร่างอัน  อวบอ้วนของหมูท� ำให้มันเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีและร�่ ำรวยในประเทศจีนและในหลายส่วนของยุโรป หมี ซึ่งจ� ำศีลหรือหลับยาวในฤดูหนาวและสามารถวิ่งโดยใช้ขาทั้งสี่หรือเดินตัวตรงสองขา ท� ำให้ มันเป็นที่เคารพของมนุษย์ Neanderthal และเป็นศูนย์กลางของเทศกาลของยุโรปหลายเทศกาลด้วย กันมาจนทุกวันนี้ ไขมันหมีเป็นยาโบราณแก้อาการปวดเมื่อยและศีรษะล้าน ถ้าใช้ทาเครื่องมือท� ำสวน  จะป้องกันโรคใบเหี่ยวในพืชผัก การรักษาโรคไอกรนในเด็กท� ำโดยให้เด็กขี่หมี และหนังหมีต้มในแอลกอฮอล์ ใช้รักษาโรคชักกระตุก การกินหัวใจหมีเท่ากับถ่ายทอดความกล้าหาญและพลังของหมีไปสู่ผู้กิน ทุกวันนี้ ยังมีการใช้ฟันหมีช่วยเวลาที่เด็กก� ำลังฟันขึ้นและเป็นเครื่องรางป้องกันการปวดฟัน การนอนบนหนังหมี  ก็เชื่อว่าจะรักษาอาการปวดหลังได้ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องราวของสัตว์ที่มีบทบาทในเรื่องเหนือธรรมชาติ เวทมนตร์ คาถาและการท� ำนายทายทัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการด� ำเนินชีวิตของมนุษย์ เรื่องราวเหล่านี้อาจมีความ คล้ายคลึงกันได้ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกัน มีสภาพแวดล้อมหรือความเชื่อใกล้เคียงกัน เอกสารอ้างอิง มาลิทัต พรหมทัตตเวที. (๒๕๔๗). เทพนิยายที่เป็นพื้นฐานของวรรณคดี . กรุงเทพฯ : ส� ำนักพิมพ์  มหาวิทยาลัยรามค� ำแหง. ส. พลายน้อย. (๒๕๓๑). สัตวนิยาย. กรุงเทพฯ : ส� ำนักพิมพ์บ� ำรุงสาส์น. Gettings, Fred. (1986). Encyclopedia of the Occult . London: Rider & Co. Ltd. Underwood, Peter. (1978). Dictionary of the Occult & Supernatural . Suffolk: Richard Clay  (The Chaucer Press) Ltd.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=