สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 2 Apr-June 2015 จาก art therapy ถึง ศิลปบ� ำบัด* อัศนีย์ ชูอรุณ ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันท่ี่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ บทคัดย่อ ค� ำศัพท์ art therapy เริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงการศึกษาทางด้านศิลปะในประเทศไทย มีการใช้ค� ำในภาษาไทยแตกต่างกันไป เช่น ศิลปะบ� ำบัด ศิลปกรรมบ� ำบัด art therapy มีความหมายว่า การบ� ำบัดด้วยการให้ผู้ป่วยได้ ท� ำงานศิลปะ เช่น วาดภาพ ปั้นรูป ท� ำให้ผู้ป่วยได้ผ่าน กรรมวิธีทางศิลปะ เช่น การวาดภาพ การปั้น และได้ ผลงานศิลปะ ออกมา โดยไม่ได้มุ่งที่ทักษะ ฝีมือทางศิลปะ ของผู้ป่วย กล่าวโดยสรุปได้ว่าเป็นการบ� ำบัดด้วยศิลปะ การใช้ค� ำภาษาไทยส� ำหรับค� ำศัพท์ art therapy ว่า ศิลปะบ� ำบัด หรือ ศิลปกรรมบ� ำบัด จึงยังไม่น่าจะถูกต้อง เพราะตามรูปศัพท์เป็นการใช้ค� ำ ศิลปะ หรือ ศิลปกรรม เป็นค� ำหลัก และค� ำ บ� ำบัด เป็นค� ำขยาย ท� ำให้มีความหมายว่า “ศิลปะที่ใช้บ� ำบัด” หรือ “ศิลปกรรม (ผลงานศิลปะ) ที่ใช้บ� ำบัด” ซึ่งจะตรงกับความหมายของค� ำศัพท์ therapeutic art มากกว่า ศัพท์ทางวิชาการด้านการบ� ำบัดหรือ therapy มีการบัญญัติขึ้นใช้ในวงวิชาการอุดมศึกษา ของไทยอยู่มากแล้ว เช่น drug therapy เภสัชบ� ำบัด, periodontal therapy ปริทันต์บ� ำบัด, physical therapy กายภาพบ� ำบัด, speech therapy วาทบ� ำบัด เป็นที่น่าสังเกตว่า ศัพท์บัญญัติดังกล่าว ทุกศัพท์ล้อโครงสร้างศัพท์ตามหลักไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต คือเป็นค� ำสมาสนั่นเอง ทั้ง ๆ ที่ค� ำ บ� ำบัด ซึ่งเป็นค� ำหลักเป็นค� ำภาษาไทย หากอาศัยแนวการบัญญัติศัพท์ดังกล่าว ค� ำศัพท์ art therapy เมื่อใช้ในภาษาไทยในรูปแบบ ค� ำสมาส คือใช้ค� ำ บ� ำบัด เป็นค� ำหลัก และใช้ค� ำ ศิลปะ เป็นค� ำขยาย ก็จะต้องใช้ว่า ศิลปบ� ำบัด ซึ่งยังคง ออกเสียงว่า “สินละปะบ� ำบัด” เทียบเคียงได้กับศัพท์บัญญัติอื่น ๆ เช่น ค� ำ art education ซึ่งมีศัพท์ บัญญัติว่า ศิลปศึกษา อ่านว่า “สินละปะสึกสา” และไม่ได้สะกดว่า ศิลปะศึกษา ค� ำ art appreciation ซึ่งมีศัพท์บัญญัติว่า ศิลปวิจักษ์ อ่านว่า “สินละปะวิจัก” และไม่ได้สะกดว่า ศิลปะวิจักษ์ ค� ำส� ำคัญ : การบัญญัติศัพท์, ศิลปบ� ำบัด, art therapy
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=