สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

117 วิรุณ ตั้ งเจริญ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ ปรัชญาความเชื่อ สังคมตะวันตกและสังคมตะวันออกย่อมแตกต่างกัน ภายในสังคมตะวันตกมีความแตกต่าง หลากหลาย ภายในสังคมตะวันออกก็มีความแตกต่างหลากหลายเช่นกัน เราอาจจัดแบ่งความแตกต่างกัน ตามเชื้อชาติหลัก สังคมหลัก วัฒนธรรมหลัก ถ้าเราลองตรวจสอบกระแสปรัชญา กระแสสุนทรียศาสตร์ หลัก เราอาจพิจารณาได้กว้าง ๆ เพื่อช่วยในการพินิจพิจารณาการแสดงออกทางศิลปะที่แตกต่างกันได้ กว้าง ๆ ดังนี้ ปรัชญาและหลักสุนทรียศาสตร์ของ โสคราติสและเพลโต (Socratis and Plato) จากกรีกโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นต้นเค้าหลักความคิดของตะวันตก แนวคิดของโสคราติสและเพลโตที่แยกออกจากกัน ยากล� ำบาก เป็นแนวคิดที่เชื่อในความจริง ความดี ความงาม สูงสุดและมองไม่เห็น ทุกคนต้องพยายาม แสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดและมองไม่เห็นนั้น ซึ่งต่างก็เชื่อมั่นในความจริง ความดี ความงามสูงสุด แตกต่างกัน ออกไป สถาปัตยกรรม ประติมากรรม เครื่องปั้นดินเผาและภาพลายเขียนสีบนผนังเครื่องปั้นดินเผา ของกรีกย่อมสะท้อนอุดมการณ์และความพยายามสูงสุด ในการสร้างสรรค์ศิลปะเชิงอุดมคติที่งดงาม เหนือกว่าความเป็นจริง อาริสโตเติล (Aristotle) สานุศิษย์ชั้นดีที่คิดต่างไปจากครูเพลโต ราฟาเอล (Raphael) หนึ่งใน จิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา จินตนาการไว้ในจิตรกรรมชื่อ “โรงเรียนแห่งนครเอเธนส์” (School of Athens) ภาพเพลโตที่เดินมาเบื้องหน้าอย่างสง่างาม ชี้มือขึ้นสู่สิ่งที่มองไม่เห็นเบื้องบน ภาพอาริสโตเติล ที่เดินเคียงคู่กันมา แบมือยื่นออกมาเบื้องหน้า ขนานกับพื้นโลก เพื่อจะบอกว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่บนโลก ใบนี้ อาริสโตเติลหมกมุ่นอยู่บนโลกใบนี้ เสนอความคิดที่เป็นรากของวิทยาศาสตร์กายภาพ นักวิชาการ มักเรียกขานอาริสโตเติลว่าเป็นประหนึ่ง “Encyclopaedia” อาริสโตเติลเชื่อมั่นว่า โศกศิลปกรรม (Tragedic Art) ศิลปะที่สะท้อนความเศร้าโศก สะท้อนความทุกข์ยาก จะช่วยให้มนุษย์ตระหนักว่า เขาควรจะสร้าง ความดีงามและด� ำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ไม่โศกเศร้าเจ็บปวดได้อย่างไร ซึ่งนั่นอาจเป็นต้นเค้า ของศิลปะเพื่อชีวิตในภายหลังก็ได้ เมื่อคริสต์ศาสนารุ่งเรืองขึ้น คริสต์ศาสนาครอบง� ำชาวตะวันตก สงครามครูเสด สงครามศาสนา ฆ่ากันนับด้วยศตวรรษก็เกิดขึ้นในยุคมืดหรือสมัยกลาง แต่คริสต์ศาสนาก็เป็นคุณแก่ชาวตะวันตกสารพัด เรื่อง เซนต์โธมัส อไควนัส (St.Thomas Aquinas) ก็เชื่อมั่นในความดีความงามที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา เกี่ยวข้องกับความเชื่อมนุษยนิยม (Humanism) มนุษย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล มนุษย์เป็นผู้สร้าง ความดีและความงาม ภายใต้ความรักความเมตตาของพระเจ้า มนุษยนิยมที่เป็นพลังกระตุ้นให้ชาวตะวันตก เชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ มนุษย์ที่สามารถสร้างสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=