สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

กรณี ศึ กษา : ศึ กษาและสร้างสรรค์ทั ศนศิ ลป์ 116 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 2 Apr-June 2015 ค้นหาและชื่นชมศิลปะหลังสมัยใหม่ ศิลปะร่วมสมัย ที่เน้นการแสดงออกในเชิงความคิดความอ่าน โดยเน้นการแสดงออกทางกระบวนการ เป็นผลงานของ เดวิด ฮอลล์ (David Hall) “ก๊อกน�้ ำ” (Tap Piece) สร้างสรรค์ในปี ๑๙๗๑/๒๕๑๔ เดวิด ฮอลล์ เป็นศิลปินร่วมสมัย ชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง ชื่นชอบที่จะน� ำเสนอเป็น วิดีโอ อาร์ต ส� ำหรับผลงานชิ้นนี้ของเขา น� ำเสนอกระบวนการน�้ ำไหลจากก๊อก ภาพน�้ ำไหล เสียงน�้ ำไหล ภาพระดับน�้ ำที่เปลี่ยนแปลง มุมมอง ของภาพองศาของภาพที่แปลกตา งานของ เดวิด ฮอลล์ สามารถสร้างสมาธิ สะท้อนกระบวนการ การเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไขของกาลเวลา ได้อย่างชวนประทับใจ ลืมความเคยชินกับความงามศิลปะเดิมๆ แล้วจะได้รับประสบการณ์ทางศิลปะอีกลักษณะหนึ่ง อีกความรู้สึกหนึ่ง ส่วนใครจะเรียกขานว่าเป็น ศิลปะ กระบวนการ (Process Art) หรืออื่นใด ย่อมเป็นไปได้เช่นกัน ศิลปะเพื่ออะไร เมื่อกระแสศิลปะสมัยใหม่ตะวันตกพัฒนาขึ้น การไม่เห็นด้วยกับแนวคิดและการสร้างสรรค์แบบเก่า การต่อต้านอ� ำนาจที่มองไม่เห็น ต่อต้านอ� ำนาจการปกครองจากเบื้องบน อ� ำนาจทางศาสนา มีพลังมากขึ้น ศิลปินเชื่อมั่นในเสรีภาพในการด� ำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์งานศิลปะมากขึ้น การปฏิเสธศิลปะเพื่อสิ่งที่ มองไม่เห็น เพื่ออ� ำนาจเบื้องบน ได้พัฒนามาสู่ “ศิลปะเพื่อศิลปะ” (Art for Art’s Sake) เพื่อความงาม ภายในตัวตนของศิลปะ ไม่ใช่สวยงามเพื่อวังหรือวัดเฉกเช่นในอดีต ไม่เกี่ยวข้องกับการยกย่องสรรเสริญ เยินยอสิ่งที่มองไม่เห็น ภูตผีปิศาจ พระเจ้า กษัตริย์ นักการเมืองผู้มีอ� ำนาจ ศิลปะเพื่อศิลปะทางด้าน ทัศนศิลป์ แสดงออกด้วยเนื้อหา สื่อ กระบวนการ กลวิธีที่หลากหลาย คุณค่าของศิลปะอยู่ที่คุณค่า ในการชื่นชมตัวศิลปะ ชื่นชมเนื้อหาสาระที่รับรู้สื่อสารได้ ชื่นชมชีวิตของสามัญชน ชีวิตของผู้คนในสังคม สมัยใหม่ ศิลปินสมัยใหม่ชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งกล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเทพธิดา ข้าพเจ้าจึงเขียน เทพธิดาไม่ได้” สังคมสมัยใหม่ สังคมประชาธิปไตย มีเสรีภาพสูง มนุษย์เกิดมาพร้อมกับเสรีภาพ วัฒนธรรม การวิพากษ์วิจารณ์สังคม วิพากษ์วิจารณ์ผู้มีอ� ำนาจ เป็นเรื่องปกติธรรมดา แล้ว “ศิลปะเพื่อชีวิต” (Art for Life’s Sake) ก็พัฒนาขึ้นพร้อมกับการวิพากษ์วิจารณ์สังคมในระบอบประชาธิปไตย พร้อมกับพัฒนาการ แนวคิดทางสังคมนิยม (Socialism) ในยุโรป รัสเซีย จีน และสังคมไทยในช่วงเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นต้นมา เป็นพัฒนาการของศิลปะทุกด้าน ทัศนศิลป์ ดนตรี วรรณกรรม เป็นศิลปะที่มุ่งสร้างส� ำนึก และกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักในความเท่าเทียม ความยุติธรรม เสรีภาพประชาธิปไตย นักวิชาการศิลปะ ในทางสากลมักเรียกศิลปะเพื่อชีวิตว่า “ศิลปะสัจนิยม” (Social Realism) หรือ “ศิลปะสัจสังคมนิยม” (Socialist Realism) ก็ชอบใครชอบมัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=