สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
115 วิรุณ ตั้ งเจริญ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ ในปัจจุบัน งานช่างมีวัสดุอุปกรณ์ มีกระบวนการผลิต มีขั้นตอนการผลิตที่ชัดเจน ซึ่งการผลิตจ� ำนวนมาก แบบมวลผลิตในปัจจุบัน เข้าไปเกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักรกลเพื่อการผลิตมากขึ้น ศิลปะหลักวิชา (Academic Art) เป็นงานศิลปะที่พัฒนามาจากตะวันตก กรีกโบราณ โรมัน พัฒนามาสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) ในอิตาลีและยุโรป สืบมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จิตรกรรมและประติมากรรมที่เน้นการเลียนแบบธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เน้น ความเหมือนจริง ความเป็นวิชาการหรือหลักวิชา “academic” เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าทางด้าน ทัศนียภาพ (linear perspective) กายวิภาค แสงและเงา องค์ประกอบศิลป์ เพื่อที่จะถ่ายทอดภาพ รูปร่าง รูปทรง แสงสีตามธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ในงานจิตรกรรม ให้สมจริงมากที่สุด แล้วกระบวนการ ทางศิลปะหลักวิชาจากซีกโลกตะวันตกก็แผ่อิทธิพลไปทั่วโลก ศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) ศิลปะสมัยใหม่ที่พัฒนาขึ้นพร้อมกับลัทธิสมัยใหม่และสังคม สมัยใหม่ สังคมที่พัฒนามาสู่สังคมประชาธิปไตย เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ความก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธุรกิจการค้าที่ก้าวเข้ามาสู่ทุนนิยม การศึกษาปรับเปลี่ยนไปตอบสนอง ความเปลี่ยนแปลงศิลปะสมัยใหม่ภายใต้บริบทสังคมใหม่ พยายามปฏิเสธการรับใช้สิ่งที่มองไม่เห็น การรับใช้ผู้มีอ� ำนาจเบื้องบน ศิลปินมุ่งแสดงออกตามปัจเจกภาพของตนเอง แสดงออกเพื่อการแสดงออก ศิลปะเพื่อศิลปะการสร้างสรรค์และการชื่นชมยินดีอยู่ภายใต้พัฒนาการของสังคมสมัยใหม่ ศิลปะหลังสมัยใหม่ (Postmodern Art) เมื่อสังคมประชาธิปไตย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทุนนิยม พัฒนาไปไกล พัฒนาเข้มแข็งมากขึ้น ทุนนิยมพัฒนาไปสู่ทุนนิยมอ่อนแอจริยธรรมมากขึ้น การโหยหา อดีต ธรรมชาติ ความดีงาม มีพลังมากขึ้น อ� ำนาจบารมีในการต่อรองสังคมและลัทธิสมัยใหม่มีมากขึ้น การแสวงหาคุณค่า การเรียกร้องคุณธรรมจริยธรรม การเรียกร้องความเท่าเทียมของมนุษย์ สิทธิ มนุษยชน ความยุติธรรม การตระหนักในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ เสียงดังมากขึ้น ศิลปะ สมัยใหม่ในกระแสทุนนิยมเก่า ศิลปะในพิพิธภัณฑ์ ศิลปะเชิงกลวิธี ปรับตัวไปสู่การน� ำเสนอความคิด ความอ่าน สื่อที่หลากหลาย การบูรณาการสื่อ ศิลปะเคลื่อนตัวออกจากพิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี ไปสู่ โลกภายนอก ไปสู่ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ไปสู่ผู้คนที่หลากหลายมากขึ้น ศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Art) สังคมร่วมสมัยเป็นสังคมที่มีความเป็นอยู่ในห้วงเวลา เดียวกัน มีวิถีการด� ำรงชีวิต มีความคิดความอ่านสอดคล้องกัน ศิลปะร่วมสมัยก็เช่นกัน เป็นศิลปะที่อยู่ใน ห้วงเวลาที่สัมพันธ์กัน แม้จะมีความหลากหลาย แต่ก็มีแนวคิด แนวปฏิบัติ การแสดงออกสัมพันธ์กัน เป็นค� ำและความหมายกว้าง ๆ มากกว่าที่จะก� ำหนดศิลปะตายตัวลักษณะใดลักษณะหนึ่งเพียงเท่านั้น ในอดีตสังคมที่ห่างไกลแตกต่างกัน การร่วมสมัยในห้วงเวลาเกิดขึ้น แต่การร่วมสมัยทางความคิดและ การแสดงออกอาจแตกต่างกัน แต่โลกหลังสมัยใหม่ในปัจจุบัน ความแตกต่างหลากหลายอาจด� ำรงอยู่ แต่เป็นความแตกต่างหลากหลายในบริบทเดียวกัน แนวโน้มเดียวกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=