สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
113 วิรุณ ตั้ งเจริญ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ ๓. พัฒนาการศิลปะและประวัติศาสตร์ศิลป์ (Development of Art and History of Art) พัฒนาการศิลปะเริ่มขึ้นพร้อมกับการที่มนุษย์พัฒนาสติปัญญา ผ่านกาลเวลา ผ่านยุคสมัย ผ่านสังคมที่ ยาวนานหลากหลาย พัฒนาการมาพร้อมกับความเป็นมนุษย์ แล้วก็มีการคิด การพูดคุย และการบันทึก ไว้เป็นประวัติศาสตร์ศิลป์ ประวัติศาสตร์ศิลป์ที่สัมพันธ์กับปรัชญาความเชื่อ สื่อบันดาลใจ จินตนาการ การแสดงออก อิทธิพล กระบวนการสร้างสรรค์ กลวิธี วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ๔. สุนทรียศาสตร์และศิลปวิจารณ์ (Aesthetics and Art Criticism) น� ำสุนทรียศาสตร์และ ศิลปวิจารณ์มารวมไว้ด้วยกัน มนุษย์คิด มนุษย์เชื่อ แล้วมนุษย์ก็เสนอความคิดเห็น เรื่องของศิลปะเรื่อง ของความงามก็เช่นกัน สุนทรียศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ความคิด ทรรศนะทาง ความงาม ในแต่ละยุคสมัย แต่ละบริบทสังคม สุนทรียศาสตร์จะส่งผลโดยตรงมาสู่ศิลปวิจารณ์ การวิพากษ์วิจารณ์อาจจะอยู่ในการคิด การพูด หรือการเขียนบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ ๕. การแสดงออกทางศิลปะและศิลปะปฏิบัติ (Art Expression and Art Practicum) นอกจาก คุณค่าที่ลุ่มลึกของศิลปะแล้ว การด� ำรงอยู่ การเหลืออยู่ของศิลปะไม่ว่าจะเป็นศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ วรรณกรรมที่เป็นลายลักษณ์อักษร การบันทึกภาพและเสียงในลักษณะต่าง ๆ การด� ำรงอยู่จากอดีต จึงท้าทายให้เราสืบค้นหรือสืบย้อนไปสู่พฤติกรรมและการด� ำรงชีวิตของมนุษย์ในอดีต ท่ามกลาง ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชน วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ สืบมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น การแสดงออก ทางศิลปะวันนี้ จึงเป็นคุณกับการสืบค้นและตีความในอนาคตอย่างแน่นอน ศิลปะส่องทางซึ่งกันและกัน ศาสตราจารย์ ดร.เจตนา นาควัชระ เชื่อมั่นว่า “ศิลปะส่องทางซึ่งกันและกัน” ซึ่งนับเป็นวรรคทอง เป็นความเชื่อที่มีความส� ำคัญมาก ลัทธิสมัยใหม่ สังคมสมัยใหม่ การศึกษาสมัยใหม่ ตอกย�้ ำให้เราแยกศาสตร์ ออกจากกันเป็นส่วนย่อย ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างท� ำ ต่างคนต่างอยู่ ชื่นชมศาสตร์ของตนเอง แล้วก็มอง ศาสตร์ของผู้อื่นว่าต�่ ำต้อย สร้างชนชั้นทางศาสตร์และวิชาชีพ โดยละเลยคุณค่าของแต่ละศาสตร์ที่ช่วย เติมเต็มซึ่งกันและกัน สังคมโดยองค์รวมแล้ว ต้องการคุณค่าที่หลากหลาย เพื่อให้ก่อเกิดพลังขับเคลื่อนที่ เข้มแข็งร่วมกัน การศึกษาและการสร้างสรรค์ศิลปะก็ได้รับผลพวงดังกล่าวด้วย กล่าวเฉพาะทางด้านศิลปะ แล้ว วาทะ “ศิลปะส่องทางซึ่งกันและกัน” จึงเป็นวาทะเป็นวรรคทองที่ส� ำคัญและมีคุณค่ามาก พร้อมกันนั้น ศาสตราจารย์ ดร.เจตนา นาควัชระ ก็พยายามผลักดันวัฒนธรรมการวิจารณ์ ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย รวมทั้งวัฒนธรรมการวิจารณ์ศิลปะทุกสาขาด้วยเช่นกัน สังคมไทยเป็นสังคม เจ้าขุนมูลนาย ยกยอปอปั้น การวิจารณ์ทั่วไปในสังคม รวมทั้งการวิจารณ์ทางวิชาการและศิลปะจึงอ่อนแอ ขาดการวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาตามความคิดเห็น ตามทฤษฎีหรือหลักการ ไม่ลูบหน้าปะจมูก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=