สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
111 วิรุณ ตั้ งเจริญ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ รากฐานความคิดทางศิลปะ ก่อนอื่นมาทบทวนศึกษาพื้นฐาน รากฐานความคิด ความรู้ ความเข้าใจทางศิลปะที่เราเกี่ยวข้อง อยู่เสมอ สื่อสารความคิดให้ตรงกัน ค� ำและวาทกรรมของค� ำย่อมมีความกว้าง แคบ ลึกตื้น มีพื้นที่ มีบริบทของค� ำที่หลากหลาย เมื่อน� ำความหมายของค� ำต่าง ๆ มาผสานกัน ย่อมมองเห็นภาพรวมหรือพื้นที่ ความคิดได้เป็นอย่างดี Art/ศิลปะ เป็นค� ำที่มีความหมายกว้างและแคบตามที่เราพิจารณา เกี่ยวข้องกับความงาม การแสดงออก ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ มีศิลปะหลากหลายลักษณะ หลากหลายรูปแบบ มีการ ประยุกต์ศิลปะหรือความงามไปใช้ประโยชน์ นอกจากนั้น ศิลปะยังมีความหมายที่ลุ่มลึกเกี่ยวข้องกับ ความเป็นเลิศ ความดีงาม ความยอดเยี่ยมในวิถีชีวิตด้วยเช่นกัน Fine Arts/วิจิตรศิลป์ เป็นค� ำเก่า เรียกรวมศิลปะหลากหลายสาขา ที่เน้นความงาม ความวิจิตร บรรจง ความเลอเลิศสูงส่ง ศิลปะที่อาจเกี่ยวข้องกับศาสนา พระมหากษัตริย์ อ� ำนาจลึกลับที่มองไม่เห็น เป็นต้น Visual Art/ทัศนศิลป์ เป็นค� ำร่วมสมัยที่เกิดขึ้นพร้อมกับพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ความเชื่อในประจักษนิยม (Empiricism) เกี่ยวข้องกับงานจิตรกรรม ประติมากรรม งานศิลปะสองมิติ และสามมิติ มองเห็นได้ สัมผัสได้ ไม่นิยมสร้างสรรค์จากสิ่งที่มองไม่เห็นหรือสิ่งลึกลับทั้งหลาย Art Object/ศิลปวัตถุ ผลงานศิลปะ ชิ้นงานศิลปะ เป็นวัตถุที่แสดงความงาม แสดงสัญลักษณ์ แสดงความคิดเชิงศิลปะ สัมผัสได้ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะจัดวาง Art Education/ศิลปศึกษา เป็นศาสตร์บูรณาการศิลปะและการศึกษา เป็นเรื่องของปรัชญา การศึกษา จิตวิทยา กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอน การสร้างความชื่นชมยินดีซาบซึ้ง ในศิลปะและความงาม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะต่าง ๆ Arts Education/พหุศิลปศึกษา Art ที่เติม s เป็นพหูพจน์ เน้นกระบวนการเรียนรู้และ กระบวนการเรียนการสอนศิลปะสาขาต่าง ๆ ในเชิงบูรณาการ ทัศนศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง ศิลปะ ร่วมสมัย ศิลปะประเพณีนิยม ศิลปะที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและชุมชน Art and Science/ศิลป์และศาสตร์ เป็นเรื่องของความผสานสัมพันธ์ระหว่างศิลป์กับศาสตร์ ระหว่างอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ความพึงพอใจ ความซาบซึ้ง รสนิยม ความเป็นนามธรรม กับเหตุผล ตรรกะ ทฤษฎี หลักการ ประหนึ่งพลังหยินและหยางของโลกตะวันออก Liberal Arts/ศิลปศาสตร์ มีบทบาทมาตั้งแต่สมัยเรอนาส์ซองส์ตะวันตก การเป็นเสรีชน ต้องเรียนรู้ศาสตร์ที่หลากหลาย ทั้งศาสตร์ทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ปัจจุบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทยพัฒนามาเป็นวิชาศึกษาทั่วไป (General Education) บังคับให้เรียนในระดับปริญญาตรี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=