สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ กรณีศึกษา : ศึกษาและสร้างสรรค์ทัศนศิลป์* วิรุณ ตั้งเจริญ ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา บทกวีส� ำหรับศิลปิน Open Mind “Moment to Moment” นิทรรศการจิตรกรรม ณ หอศิลป์ล� ำปาง จังหวัดล� ำปาง ๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ บทคัดย่อ การศึกษาศิลปะและสร้างสรรค์ศิลปะย่อมเป็นสิ่งเดียวกัน หากเราเพียงศึกษาศิลปะแต่ขาด การสร้างสรรค์ศิลปะ สังคมก็คงขาดศิลปะที่ก้าวหน้าทันสมัย ในทางกลับกัน หากเราเพียงสร้างสรรค์ ศิลปะอย่างไม่ลืมหูลืมตา ขาดการศึกษาศิลปะที่ลุ่มลึกและหลากหลาย ขาดการศึกษาศิลปะจากอดีต ศิลปะที่เกิดขึ้นในสังคมย่อมจะขาดพัฒนาการ ขาดความลุ่มลึก และขาดคุณค่าที่เหมาะสมสอดคล้อง กับสังคม ศิลปะหลากหลายสาขามีแก่นความคิดร่วมกัน มีความสัมพันธ์กัน “ศิลปะส่องทางซึ่งกัน และกัน” ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์มีความผสานสัมพันธ์กัน เมื่อเราสร้างสรรค์ศิลปะ ก่อให้เกิดศิลปะ ที่แปลกใหม่ ความแปลกใหม่ย่อมก่อให้เกิดคุณค่าใหม่ นั่นหมายถึงว่า เราจะต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง ศิลปะจากอดีตยอมรับการสูญเสียบางสิ่งบางอย่างด้วยเช่นกัน การศึกษาและสร้างสรรค์ศิลปะ ย่อมเกี่ยวข้องกับสุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลป์ ศิลปวิจารณ์ และกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะ เป็นประการส� ำคัญ ค� ำส� ำคัญ : ศิลปะ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศิลปวิจารณ์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=