สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

95 ชนก สาคริ ก วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ ผู้เขียนอยู่ในแวดวงการเป็นครูสอนดนตรีไทยมานานกว่า ๕๐ ปี โดยเริ่มสอนดนตรีไทย ตั้งแต่อายุ ๑๗ ปี จนบัดนี้อายุ ๖๘ ปี ได้ฝึกสอนดนตรีให้กับศิษย์มาเป็นจ� ำนวนมาก หลายต่อหลายรุ่น ได้พบทั้งลูกศิษย์ที่เก่งดนตรีเพราะมี พรสวรรค์ และ พรแสวง อยู่เสมอ จึงพอจะสังเกตได้ว่า คนที่มีพรสวรรค์ ทางดนตรีนั้นมีจ� ำนวนน้อยมาก นาน ๆ จึงจะพบสักคนสองคนเท่านั้น และที่น่าแปลกก็คือ คนที่อาศัย พรแสวงนั้นก็มีน้อยมากเช่นกัน นอกนั้นมักเป็นพวกที่เรียนดนตรีไปพอเป็นความรู้ประดับตัวเท่านั้น คือ เรียนได้ไม่นานก็เลิกรา วิธีการฝึกตนด้วยพรแสวง เรื่องของพรสวรรค์นั้น ผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวถึงเพราะเทวดาเป็นผู้ให้มา ใครได้รับพร คนนั้น ก็มีความสามารถด้านนั้นไป แต่จะกล่าวถึงเรื่องของพรแสวงมากกว่า เพราะเรื่องของพรแสวงนั้น จ� ำเป็นต้องมีวิธีการและขั้นตอนในการฝึกปฏิบัติจึงจะเกิดผล และเป็นสิ่งที่เราแสวงหาได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องรอให้เทวดาหรือใครมามอบให้ อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ขั้นตอนของพรแสวงนั้นไม่ต้องไปเสาะแสวงหาที่ใดให้ล� ำบาก เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทานไว้ให้แก่พวกเราชาวพุทธแล้ว นั่นก็คือเรื่องของ “อิทธิบาท ๔” นั่นเอง โดยรากศัพท์แล้ว ค� ำว่า “อิทธิ” นั้น หมายถึง ความส� ำเร็จอันเป็นอัศจรรย์ ส่วนค� ำว่า “บาท” หมายถึง ที่ตั้ง ดังนั้น อิทธิบาท ๔ จึงหมายถึงที่ตั้งแห่งความส� ำเร็จอันเป็นอัศจรรย์ มี ๔ ประการ นั่นเอง เรื่องราวความเป็นมาของอิทธิบาท ๔ นั้น เล่ากันมาว่ามีผู้ไปกราบบังคมทูลถามองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า กุลบุตรและกุลธิดาที่ต้องการความรู้ความก้าวหน้าในอาชีพการงานใด ๆ นั้น พึงปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายดังกล่าว พระพุทธองค์จึงทรงตรัสสอนถึงเรื่อง ของอิทธิบาท ๔ ขึ้น จนเป็นที่ทราบกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน องค์ประกอบของอิทธิบาท ๔ มีดังนี้ ๑. ฉันทะ คือ ความรักความพึงพอใจในวิชาที่เรียน ๒. วิริยะ คือ ความขยันหมั่นเพียรในการเรียนรู้วิชานั้น ๓. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่และมีจิตจดจ่อในการเรียนอยู่ตลอดเวลา ๔. วิมังสา คือ ความหมั่นใคร่ครวญแก้ไขข้อบกพร่องในการเรียนอยู่เสมอ ผู้เขียนได้น้อมน� ำหลักค� ำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องอิทธิบาท ๔ มาใช้ อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ดนตรีไทยตลอดมา โดยอธิบายให้เข้าใจขั้นตอนการฝึกปฏิบัติให้ครบทั้ง ๔ ข้อ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=