สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
สมเด็ จพระเทพรั ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กั บงานอิ นเดี ยศึ กษา : การผสมผสานความรู้ด้านมนุษยศาสตร์ฯ 6 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 2 Apr-June 2015 ศิลปะ นอกจากศิลปะที่เกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีแล้ว ศิลปะปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงภาพถ่าย ก็แสดงถึงพระอัจฉริยะในการมอง ซึ่งก่อให้เกิดภาพถ่ายที่ให้ทั้งสุนทรียรส และสภาพสังคม เศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนา ชีวิตความเป็นอยู่ปัจจุบันและอดีตของอินเดีย ตัวอย่างศิลปะภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ ซึ่งปรากฏอยู่ในนิทรรศการภาพถ่ายจัดแสดงเนื่องในโอกาสฉลอง ๖๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย- อินเดีย ในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ณ ประเทศอินเดียที่กรุงนิวเดลี นครมุมไบ และเมืองเจนไน เป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างดี เช่น ภาพลิงที่ศาลเจ้าพ่อหนุมาน เมืองชิมลา (Shimla) ภาพห้องน�้ ำนักเรียนประจ� ำที่ดาร์จีลิง ภาพสระน�้ ำโบราณ อาณาจักรวิชัยนคร ภาพลิงเฝ้าถ�้ ำ ภาพดาราใหญ่ (Superstar) ภาพสาวแกะมาคาเดเมีย ภาพหม้อข้าวหม้อแกง ภาพที่พักฝ่ายในซึ่งทรงตั้งชื่อว่า “ที่นี่ ผู้ชายห้ามเข้า” ภาพงดเรียนวันเด็ก เย้ ภาพเครื่องเทศที่ภัตตาคารในกัลกัตตา สรุป ผู้ที่ได้สัมผัสผลงานอินเดียศึกษาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเห็น ได้ว่าทรงผสมผสานความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อให้เกิดภาพรวมที่ช่วยให้ผู้สนใจทั้ง หลายรู้จักประเทศอินเดียในแง่มุมต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น แม้อินเดียจะมิได้เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน แต่อินเดียก็ให้ความสนใจที่จะมีส่วนร่วมกับประชาคมอาเซียนตามนโยบาย Look East ของอินเดีย ซึ่งปัจจุบันขยายเป็น Act East ดังนั้น ประเทศไทยซึ่งเป็น ๑ ใน ๑๐ ชาติอาเซียน ควรตอบสนองอินเดีย อย่างถูกวิธี ค� ำกล่าวที่ว่า “เจองูกับแขก ให้ตีแขกก่อน” ควรยกเลิกได้แล้ว ควรหันไปมองโคลงโลกนิติที่ว่า ๏ ให้ท่านท่านจักให้ ตอบสนอง นบท่านท่านจักปอง นอบไหว้ รักท่านท่านควรครอง ความรัก เรานา สามสิ่งนี้เว้นไว้ แต่ผู้ทรชน ถ้าชาวไทยดีต่อชาวอินเดีย ชาวอินเดียย่อมดีตอบแน่นอน ยกเว้นทรชนซึ่งพบได้ทุกเผ่าพันธุ์ ไม่ว่าไทยหรือเทศ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=