สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

5 ศรี สุรางค์ พูลทรั พย์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ ความผสมกลมกลืนเป็นนามธรรม (abstract) ไม่สามารถแสดงออกมาได้ จึงท� ำเป็นภาพสังวาส ถือว่าเป็น รูปธรรม (concrete) ภาพ erotic บางส่วนยังมุ่งเพื่อชวนหัวเท่านั้น” (หน้า ๓๘๔) ในอินเดียศาสนามักเชื่อมโยงกับความรู้ด้านโบราณคดี ภาษา วรรณกรรม ศิลปะ ประเพณีและ วัฒนธรรม เพราะศาสนาในอินเดียเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความงอกงามทางภาษา วรรณกรรม ศิลปะ ประเพณีและวัฒนธรรม ส่วนที่แสดงออกทางวัตถุก็เป็นโบราณคดี ซึ่งต้องชมและศึกษาประกอบกับ ความรู้เรื่องอื่น ๆ ที่กล่าวมานี้ ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ขอนอกเรื่องไปพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดิมวิชา โบราณคดีสอนอยู่ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ต่อมามีนักวิชาการจากทบวงมหาวิทยาลัยทักท้วงว่าวิชา โบราณคดีไม่ใช่วิชาของภาควิชาประวัติศาสตร์ บรรดาอาจารย์ในภาคช่วยกันคิดอยู่นานว่าท� ำอย่างไรให้ วิชาโบราณคดีซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประวัติศาสตร์โบราณมากสามารถเปิดสอนในภาควิชาประวัติศาสตร์ได้ ในที่สุดแก้ปัญหาด้วยการตั้งชื่อวิชานี้เสียใหม่ว่า ประวัติศาสตร์ศิลปะและสอนโบราณคดีต่อไปในวิชานี้ เพื่อให้ถูกใจนักวิชาการแห่งทบวงมหาวิทยาลัย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เองก็ทรงเล่าถึงเรื่องที่ทางการอินเดียมีรถ “จัดแสดงเรื่องประวัติศาสตร์อินเดียและโบราณคดีออกไปตามศูนย์การศึกษาทั้งในเมืองและชนบท” แสดงว่า ๒ วิชานี้เกี่ยวพันกัน เนื่องจากเวลาชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัลกัตตามีจ� ำกัด จึงทรงเล่าว่ามิได้ ชมทุกอย่างที่จัดแสดง ทรงเล่าถึงห้องภารหุตซึ่งแสดงชิ้นส่วนที่มาจากการขุดค้นบริเวณหมู่บ้านภารหุต สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ศุงคะราว ๒๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นศิลปะที่มีลักษณะแข็งไม่เป็นธรรมชาติ และแบนไม่เป็นสามมิติอย่างภาพสลักในสมัยต่อมา หลังจากนั้นได้ทอดพระเนตรภาพพุทธประวัติซึ่งยังใช้ สัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น ภาพพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ ท� ำเป็นรูปบันไดมีรูปรอย พระบาทอยู่ที่บันไดขั้นแรกและขั้นสุดท้าย สมัยคุปตะถือว่าศิลปะเจริญถึงขั้นสูงสุด พระพุทธรูปมีพระพักตร์ส่อแสดงถึงความหลุดพ้น ที่งาม ที่สุดคือพระพุทธรูปรุ่นที่สารนาถ นอกจากนี้ยังได้ทอดพระเนตรรูปการแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่สาวัตถีเป็นต้น จึงเห็นได้ว่าประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ ตลอดจนความรู้เรื่องศาสนาจะต้องอยู่ร่วมกันและช่วยขยาย ความรู้ซึ่งกันและกัน ผู้ชอบทักท้วงควรตามเสด็จเข้าพิพิธภัณฑสถานเสียบ้าง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=