สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
125 อั ศนี ย์ ชูอรุณ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ ค� ำว่า art มักใช้ในภาษาไทยกันทั่วไปว่า ศิลปะ ซึ่งใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายค� ำว่า ศิลปะ ไว้ว่า “น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การท� ำให้วิจิตรพิสดาร, เช่น รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์ เขาท� ำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการ แต่งตัว; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น วิจิตรศิลป์ ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร. (ส.ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม)” (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖ : ๑๑๔๔) ความหมายของค� ำว่า ศิลปะ ตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หากน� ำไปใช้กับความหมาย ของค� ำว่า art ดังกล่าวข้างต้น ก็จะมีความหมาย ดังนี้ ๑) การใช้จินตนาการท� ำสิ่งต่าง ๆ อันมีลักษณะทางสุนทรีย์ (the use of the imagination to make things of aesthetic significance) (Lexicon, 1995: 52) ในความหมายนี้สามารถใช้ค� ำว่า ศิลปะ ได้ ตัวอย่างเช่น เขาท� ำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมี ศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มี ศิลปะ ในการแต่งตัว ๒) กลวิธีที่เกี่ยวข้องกับการท� ำสิ่งต่าง ๆ อันมีลักษณะทางสุนทรีย์ (the technique involved) (Lexicon, 1995: 52) ในความหมายนี้สามารถใช้ค� ำว่า ศิลปะ ได้ ตัวอย่างเช่น ศิลปะ การวาดภาพ ศิลปะ การปั้นรูป ศิลปะ การละคร ศิลปะ การดนตรี ๓) สาขาหนึ่งของงานประเภทวิจิตรศิลป์ (one of the fine arts) (Lexicon, 1995: 52) ใน ความหมายนี้สามารถใช้ค� ำว่า ศิลปะ ได้ ตัวอย่างเช่น จิตรกรรมเป็น ศิลปะ สาขาหนึ่งของงานประเภท วิจิตรศิลป์ ๔) วัตถุที่ศิลปินนักสร้างสรรค์ท� ำขึ้นมา (objects made by creative artists) (Lexicon, 1995: 52) ในความหมายนี้ไม่สามารถใช้ค� ำว่า ศิลปะ ได้ โดยทั่วไปจะใช้ว่า ผลงานศิลปะ แต่ใน พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถานใช้ว่า ศิลปกรรม มีความหมายว่า “สิ่งที่เป็นศิลปะ, สิ่งที่สร้างสรรค์ ขึ้นเป็นศิลปะ, เช่น งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรมจัดเป็นศิลปกรรม” (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖ : ๑๑๔๔) ๕) ขอบเขตงานที่ใช้ฝีมือซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น ฝีมือซึ่งมีความคิดสร้างสรรค์ ในการ ต่อเรือหรือฝีมือในด้านอื่น ๆ, ทักษะการพูดเท็จ (a sphere in which creative skill is used, the art of shipbuilding or other skill, the art of lying) (Lexicon, 1995: 52) ในความหมายนี้ใช้ค� ำ ศิลปะ ได้ ตัวอย่างเช่น ศิลปะการต่อ เรือ ศิลปะ การพูดเท็จ ๖) การศึกษาทางด้านมนุษยศาสตร์ แยกกันชัดเจนกับทางด้านวิทยาศาสตร์ (one of the humanities ( as distinct from science ) (Lexicon, 1995: 52) ในความหมายนี้ใช้ค� ำ ศิลปะ ได้ ตัวอย่างเช่น ศิลปะเป็นการศึกษาทางด้านมนุษยศาสตร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=