สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สมเด็ จพระเทพรั ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กั บงานอิ นเดี ยศึ กษา : การผสมผสานความรู้ด้านมนุษยศาสตร์ฯ 4 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 2 Apr-June 2015 “พระบรมโลกนาถก็เอนองค์ลงบรรทมเหนือปาสาณบัลลังก์อาสน์ส� ำเร็จซึ่งสีหไสยาสน์โดยทักษิณ ปรัศว์เบื้องขวา พระบาทาฝ่ายซ้ายซ้อนทักษิณบาท ทรงไสยาสน์ด้วยอนุฐานสัญญามนสิการประกอบด้วย พระสติสัมปชัญญะ ก� ำหนดว่าตถาคตมิได้อุฏฐาการอีกสืบไป ในสมัยนั้นอันสาลบุปผาชาติทั้งหลาย ก็ขยาย แย้มกลีบเกสรแบ่งบานตั้งแต่ล� ำต้นตราบเท่าถึงยอดแลตลอดสาลวัน วิกสิตบุปผาเป็นอกาลผกาปรากฏ กุสุมเสาวคนธรสก็ปวัตนาการหล่นลงเรี่ยรายทั่วพระพุทธสริรกายาบูชาพระสัพพัญญู หมู่ภมรผึ้งภู่บิน มาเชยซาบอาบรสเกสรมาลาบันลือศัพท์ส� ำนวน ปานประหนึ่งว่าส� ำเนียงยมกสาลพฤกษาปริเวทนาการ แลบุปผาชาติแห่งนางรังหล่นลงเป็นนิรันดร์ ก็เปรียบปานประดุจอสุชนหล่นไหลพิลาปโสกี ...” (หน้า ๑๐๓-๑๐๔) นอกจากทรงระลึกถึงพระปฐมสมโพธิกถาดังกล่าวแล้ว ยังทรงเล่าว่า “สถานที่นี้ชวนให้คิดถึง ความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ไม่มีสิ่งใดยั่งยืนตั้งอยู่ค�้ ำฟ้า สถานที่ซึ่งพระตถาคตเจ้าตรัสว่าเป็นเมืองใหญ่ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิราช เต็มไปด้วยความบันเทิงสุข ครั้นถึงสมัยพุทธกาลกลับกลายเป็นป่าต้นสาละ มาถึงสมัยเราก็ไม่มีอะไรหลงเหลือจากสมัยพุทธกาล อย่าว่าแต่เหตุการณ์นานเช่นนี้ ดูกรุงศรีอยุธยาของ เราบ้าง ตามเอกสารโบราณว่าเป็นเมืองเจริญรุ่งเรือง ขณะนี้ปราสาทราชวังล้วนเหลือแต่เป็นกองเศษอิฐ ชวนสังเวชในความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย สิ่งที่เที่ยงคือ คุณงามความดี ธรรมอันประเสริฐ” (หน้า ๑๐๖) ตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นว่าทรงเชี่ยวชาญและทรงเข้าใจพระธรรมของพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง อีกตัวอย่างหนึ่งคือเมื่อทอดพระเนตรละครที่เป็นบทประพันธ์ของรพินทรนาถ ฐากูร เรื่อง จัณฑาลิกา ซึ่งอิงเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระอานนท์ เนื้อหาของละครเรื่องนี้ คือพระอานนท์มาขอน�้ ำดื่มจากนางประกฤติ ซึ่งเป็นหญิงจัณฑาล นางไม่กล้าถวาย พระอานนท์จึงสอนว่า “การแบ่งชั้นวรรณะเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง มนุษย์ มีความเท่าเทียมกัน” (หน้า ๑๑๗) เรื่องนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล่าว่า ต่างจากที่ทรงได้ฟังมา กล่าวคือ เรื่องในพระพุทธศาสนามีว่า นางหลงรักพระอานนท์ผู้ให้ความเมตตาแก่ นางซึ่งนางไม่เคยได้รับมาก่อน จึงเดินตามพระอานนท์มา เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ซึ่ง “แสดงโทษ ของสังขารร่างกายว่าเต็มไปด้วยปฏิกูล นางได้ดวงตาเห็นธรรม” (หน้า ๑๑๘) นอกจากทรงรอบรู้ในพระพุทธศาสนาแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงรอบรู้เรื่องศาสนาอื่นด้วย เช่น ศาสนาฮินดู ซึ่งช่วยให้เข้าพระราชหฤทัยประติมากรรมต่าง ๆ ของ ศาสนสถานฮินดูได้อย่างลึกซึ้ง ศาสตราจารย์สัตยพรตได้ถวายความรู้เรื่องศาสนาฮินดูไว้มากพอควร ทรงรอบรู้เรื่อง นารายณ์สิบปาง ซึ่งสลักไว้ในเทวสถานเช่นที่ขชุราโห (หน้า ๓๘๑) ทรงทราบเรื่องศักติหรือความ เชื่อที่ว่าเทวดาผู้หญิงเป็นศักติของเทพต่าง ๆ เช่น ไวษณวี เป็นศักติหรือพลังของพระวิษณุ ตรัสว่าศิลปะที่ ขชุราโหมิได้ท� ำตามคัมภีร์กามสูตร “แต่เป็นการแสดงปรัชญาทางศาสนา ได้แก่ แนวคิดเรื่องความอุดม สมบูรณ์ (fertility) เรื่องการผสมกลมกลืน (harmony) ของโลก และจักรวาล ความอุดมสมบูรณ์และ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=