สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
กรณี ศึ กษา : ศึ กษาและสร้างสรรค์ทั ศนศิ ลป์ 118 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 2 Apr-June 2015 หลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ อเมริกันในฐานะผู้ชนะสงครามมีอ� ำนาจคับโลก สงครามเย็น แผ่ขยายไปทั่วโลก อเมริกันขับเคลื่อนสังคม การเมือง เศรษฐกิจ อย่างเข้มแข็ง วัฒนธรรมอเมริกันชน คนเถื่อน ส่งอิทธิพลแผ่ขยายออกไปพร้อมกับชาวอเมริกันและกองทัพ ในภาพของผู้พิทักษ์โลก ผู้ปกป้อง เสรีภาพและประชาธิปไตย พร้อมกันนั้นก็ต่อต้านสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง แล้วอเมริกัน ก็ค้าเครื่องบินรบ รถถังรบ อาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อการรบ เพื่อการท� ำสงคราม ร�่ ำรวยมหาศาล ทั่วโลก ส่งคนไปศึกษาในสหรัฐอเมริกา วัฒนธรรมและศิลปะแบบแผนอเมริกันส่งอิทธิพลไปทั่วโลก นักปรัชญา และนักสุนทรียศาสตร์สมัยใหม่ชาวอเมริกัน ไคร์ฟ เบลล์ (Crive Bell) เสนอแนวคิดว่า ความงามของ ศิลปะไม่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรมใดใด ความงามของศิลปะขึ้นอยู่กับความงามของรูปแบบหรือ รูปทรงนัยส� ำคัญ (Significant Form) โลกก็เป็นงง โลกก็ไม่โต้เถียง แล้วโลกก็คล้อยตาม เราลองหันกลับมาพิจารณากระแสปรัชญา กระแสสุนทรียศาสตร์ตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตะวันออกไกล ซึ่งอาจจะรวมตะวันออกเฉียงใต้ไว้ด้วย โดยภาพรวมแล้ว ต่างมองว่ากระแสตะวันออก เชื่อมั่นในพลังหยิน-หยาง ขาว-ด� ำ นามธรรม-รูปธรรม หญิง-ชาย ความประณีตนุ่มนวล-ความแข็งกร้าว เชื่อมั่นในดุลยภาพของพลังทั้งสองด้าน โลกตะวันออก วัฒนธรรมตะวันออก มีลักษณะเฉพาะตัว แม้มี ความหลากหลาย แต่ก็มีภาพรวมหรือภาพหลักโยงใยโอบเอื้อกันอยู่ เป็นอุดมคติที่ผสานธรรมชาติ ศาสนา ความเชื่อ มีความลุ่มลึกประณีตบรรจง และมีพลังแฝงเร้นซ่อนอยู่อย่างลึกซึ้ง การวิเคราะห์งานศิลปะ การวิเคราะห์วิจารณ์ศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นการมองเพื่อศึกษา เพื่อชื่นชม หรือเพื่อการเรียนการสอน ก็ตาม ควรมอง ควรพิจารณาหลากหลายด้าน เพื่อให้ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ การมองรอบด้าน ย่อมช่วยให้มองเห็นแง่มุมต่าง ๆ มองเห็นภาพรวมของผลงานชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งเราสามารถพิจารณาได้ดังนี้ สนามสุนทรียะ (Aesthetic Field) การพิจารณาศิลปะในสนามสุนทรียะ เป็นการพิจารณาให้ ครอบคลุมในบริบทความงามของศิลปะ สนามย่อมหมายถึงพื้นที่ที่สัมพันธ์กัน เชื่อมโยงกัน เชื่อมโยงกับ ศิลปะที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ทัศนศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง วรรณกรรม ศิลปะส่องทางซึ่งกัน และกัน ขยายสนามสุนทรียะออกไป เชื่อมโยงถึงศิลปะภายใต้บริบทของสังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ การเมือง และศาสตร์ต่าง ๆ เรื่องราว (Story) ศิลปะอาจเป็นวัตถุ เป็นปรากฏการณ์ เป็นกระบวนการ ศิลปะมีคุณค่าด้วยตัวตน ของศิลปะเอง เมื่อมีการบอกเล่า เรียนรู้ ศึกษาค้นคว้า แล้วทราบเรื่องราวเบื้องหลัง เรื่องราวความเป็นมา เรื่องราวที่ลุ่มลึก เมื่อทราบเรื่องราวแง่มุมต่าง ๆ ของศิลปะนั้นแล้ว ความรู้ ความเข้าใจ ความซาบซึ้ง ในศิลปะนั้น ย่อมมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=