สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
3 ศรี สุรางค์ พูลทรั พย์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ เห็นได้ว่าความสนพระราชหฤทัยของพระองค์นั้นครอบคลุมหลายแขนงวิชา ยากที่จะน� ำมา จัดระเบียบตามข้อสังเกตของคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา ใน พระราชนิพนธ์เล่มนี้ ทรงเล่าว่าพระสหายชาวอินเดียที่เคยเรียนวิชา Remote Sensing ที่สถาบันเอไอที (Asian Institute of Technology - AIT) พร้อมกับพระองค์ได้มาเข้าเฝ้าฯ ทรงพระราชปรารภเกี่ยวกับวิชานี้ว่า “ฉันเองไม่ได้ใช้มากนักเพราะต้องท� ำงานด้านอื่น การเรียนเพียงท� ำให้หูตากว้างขึ้น ถ้าเรารู้หลักวิชาแล้ว ก็จะสามารถชี้แนะไหว้วานให้ผู้อื่นท� ำการด้านต่าง ๆ แทนตัวเราได้ อีกอย่างหนึ่งคือเวลาออกไปที่ไหน ๆ ฉันมีความสังเกตในเรื่องข้อมูลพื้นดิน หรือ Ground Truth ดีขึ้น คือรู้จักสังเกตลักษณะภูมิประเทศ การใช้ ที่ดิน การรู้จักสังเกตเส้นทางเปรียบเทียบกับแผนที่ได้ดีขึ้น” กล่าวคือทรงสามารถใช้วิชาด้านวิทยาศาสตร์ ให้เป็นประโยชน์ต่อความรู้ด้านสังคมศาสตร์ได้ และผู้เชี่ยวชาญด้านหนึ่งอาจมีความรู้ในด้านอื่น ๆ ด้วย ซึ่ง จะช่วยเสริมสร้างความเชี่ยวชาญให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในงานอินเดียศึกษา สิ่งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสนพระราชหฤทัย และกล่าวไว้ในพระราชนิพนธ์ ทัศนะจากอินเดีย ได้แก่ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ศิลปะ วรรณกรรม ประเพณีและวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังทรงสนับสนุนเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษา ทรงสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ ด้วยการสัมมนา เช่น เสด็จพระราชด� ำเนินไปทรงร่วมการสัมมนาสันสกฤตนานาชาติซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทย ทรงสนับสนุนการแปลวรรณกรรมรามเกียรติ์ของไทยซึ่งศาสตราจารย์ ดร.สัตยพรต ศาสตรี แปลเป็น ภาษาสันสกฤตชื่อว่า Ramakirti Mahakavyam ออกเป็นภาษาต่าง ๆ ที่ใช้ในอินเดีย ด้วยการเสด็จฯ มาพระราชทานรางวัลแก่ผู้แปลงานดังกล่าวที่วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น จึงขอกล่าวถึงงาน ส� ำคัญด้านอินเดียศึกษาโดยแยกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้ ศาสนา ข้อสังเกตของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขณะเสด็จพระราชด� ำเนินเยือน อินเดีย ท� ำให้เราทราบว่าทรงรอบรู้เรื่องพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี เช่น เมื่อเสด็จพระราชด� ำเนินไปยัง สาลวโนทยาน (สวนป่าต้นสาละ) ซึ่งเป็นสถานที่พุทธปรินิพพาน ทรงเล่าข้อมูลในมหาปรินิพพานสูตร (ทีฆนิกาย มหาวรรค) ได้เป็นอย่างดี เมื่อเสด็จกลับจากสาลวโนทยานแล้ว ยังทรงเล่าว่า “หนังสือที่ฉัน อ่านซ�้ ำแล้วซ�้ ำอีกอย่างไม่รู้เบื่อคือ พระปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส” (หน้า ๑๐๒) เพราะใช้ภาษาที่ไพเราะจับใจ แล้วทรงยกตัวอย่างมาตอนหนึ่งดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=