สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ความสามารถทางดนตรี พรสวรรค์ หรื อ พรแสวง 104 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 2 Apr-June 2015 ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นแอปพลิเคชันดนตรีบนคอมพิวเตอร์ไอแพดเพียงบางส่วนที่ธนิดาสามารถ บรรเลงได้ สรุปแล้วขณะนี้มีจ� ำนวนแอปพลิเคชันที่ผู้เขียนน� ำมาใช้สอนดนตรีไทย และธนิดาสามารถ บรรเลงได้ทุกชิ้น คือ ๑. ขิมฝรั่ง (Hammer Dulcimer) ๒. แคนแอฟริกัน (Zampona) ๓. พิณกู่เจิงของจีน (Gu Zheng HD) ๔. พิณโกโตะของญี่ปุ่น (Koto) ๕. ฮาร์ปของชาวตะวันตก (Air Harp) ๖. พิณกู่ฉิน (Gu-Qin) ๗. ขิมอินเดีย (Santoor) ๘. ระนาดฝรั่ง (Marimba) ๙. ระนาดเอก (ไทย) ๑๐. ฆ้องวงใหญ่ (ไทย) ๑๑. พิณอาหรับ (Kanun) ๑๒. ระนาดเหล็กจิ๋ว (small Xylophone) ทุกชิ้นที่กล่าวมานั้น ขณะนี้มีเยาวชนจ� ำนวนมากสามารถบรรเลงเป็นเพลงไทยได้อย่างไพเราะน่าฟัง เป็นการบรรเลงดนตรีบนคอมพิวเตอร์ไอแพด ซึ่งแม้จะมีความแตกต่างไปจากการบรรเลงเครื่องดนตรี จริง ๆ ซึ่งผู้บรรเลงจ� ำเป็นต้องปรับความรู้สึกใหม่เพราะมีสัมผัสที่ค่อนข้างจะแตกต่างกัน แต่ต้องถือว่าผู้ที่ บรรเลงดนตรีเสมือนจริงได้ไพเราะน่าฟังต้องมีความสามารถทางดนตรีที่น่ายกย่องเช่นกัน บทสรุป พรสวรรค์และพรแสวง นั้น แม้จะช่วยให้เราบรรลุถึงผลส� ำเร็จตามความมุ่งหมายได้เหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ ความส� ำเร็จจากพรสวรรค์เป็นความกรุณาจากเทวดา ในขณะที่ความส� ำเร็จจาก พรแสวงนั้นเป็นผลมาจากความ “อุตสาหวิริยะ” ของตัวเราเอง ซึ่งน่าภาคภูมิใจมากกว่า

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=