สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

103 ชนก สาคริ ก วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ ไทยได้อย่างไพเราะน่าฟังเช่นกัน หลังจากนั้น จึงได้ฝึกสอนธนิดาจนสามารถบรรเลงพิณโกโตะได้เช่นกัน นับเป็นความสามารถทางดนตรีของธนิดาอีกประการหนึ่ง ๒. แคนแอฟริกัน เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่านั้นใช้ลม หายใจเป็นหลักในการก� ำเนิดเสียง ดังนั้น ผู้บรรเลง จึงต้องฝึกก� ำลังลมและจังหวะของการหายใจให้สอด ประสานสัมพันธ์กันจึงจะเป่าบรรเลงได้ส� ำเนียงที่ไพเราะ แต่ปัจจุบันสามารถฝึกบรรเลงเครื่องดนตรีประเภท เครื่องเป่าได้โดยอาศัยเพียงนิ้วมือเท่านั้น มีแอปพลิเคชัน บนไอแพด ซึ่งใช้บรรเลงแทนเครื่องเป่าเช่นแคนได้ เช่น Zampona หรือแคนของชาวแอฟริกา ซึ่งมีรูปร่างและ เสียงคล้ายคลึงกับแคนของพี่น้องชาวอีสานของไทยมากทีเดียว แอปพลิเคชันนี้ปรากฏอยู่บนคอมพิวเตอร์ ไอแพดซึ่งท� ำเป็นรูปแคนในมุมมองของด้านที่ใช้ปากเป่า แต่การบรรเลงต้องใช้นิ้วมือกดลงไปที่ต� ำแหน่ง รูแทนการใช้ปากเป่าซึ่งจะได้เสียงออกมาเหมือนกับเสียงแคนจริง ๆ ผู้เขียนได้น� ำเครื่องดนตรีเสมือนจริง หลายชนิดมาใช้สอนดนตรีไทยให้กับลูกศิษย์ และพบว่าได้ผลดีมาก เนื่องจากมีความสะดวกและแพร่หลาย ได้อย่างกว้างขวาง เพราะคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ก� ำลังเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป ๓. Air Harp พิณที่เรียกว่า Harp ของชาวตะวันตกนั้น มีกระแสเสียงทุ้มนุ่มนวลไพเราะน่าฟังเช่นกัน แต่มีระบบ การเรียงเสียงแตกต่างไปจากพิณของชาวเอเชีย คือ Harp ใช้กลุ่มเสียงตัวโน้ต ๑๒ ระดับ ซึ่งมากกว่ากลุ่มเสียง ตัวโน้ต ๕ ระดับ (Penta Tonic Scale) ที่พิณของ ชาวเอเชียนิยมใช้บรรเลง การดีด Harp จึงมีความสลับ ซับซ้อนมากกว่า และต้องใช้ทักษะค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดี ธนิดาก็สามารถดีดพิณชนิดนี้ได้เช่นกัน แต่ดีดแบบเสมือนจริงด้วยแอปพลิเคชันบนคอมพิวเตอร์ไอแพด เนื่องจากยังไม่มีโอกาสได้ดีดบรรเลง Harp จริง ๆ เพราะหาซื้อยากและมีราคาแพง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=