สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สมเด็ จพระเทพรั ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กั บงานอิ นเดี ยศึ กษา : การผสมผสานความรู้ด้านมนุษยศาสตร์ฯ 2 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 2 Apr-June 2015 มองสิ่งใดเพียงจุดเดียวแง่เดียว เพราะ “เดินตามก้น” ชาวตะวันตกยุคใหม่ที่แบ่งแยกวิชาการออกเป็น สายวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และแต่ละสายก็ซอยแยกออกไปจนนับไม่ถ้วน หารู้ไม่ว่า การแบ่งนั้นเป็นเพียงการจัดระเบียบเพื่อค้นหาได้สะดวกเท่านั้น โดยปกติผู้รอบรู้จะรู้แทบทุกเรื่อง ตัวอย่าง ผู้มีชื่อเสียงในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) เช่น ไมเคิลแอนเจโลก็รู้ทั้งวิทยาศาสตร์ ศาสนศาสตร์ ศิลปะ จึงสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่งดงามเป็นอมตะได้เป็นจ� ำนวนมาก เมื่อข้าพเจ้าศึกษาพระราชประวัติและพระจริยวัตรของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม- ราชกุมารี ก็เห็นว่าพระองค์สนพระราชหฤทัยวิชาการทุกแขนง ไม่ว่าวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ มนุษยศาสตร์ ในบทความนี้ขอกล่าวเฉพาะเรื่องงานอินเดียศึกษา หากท่านสนใจก็สามารถไปอ่าน พระราชนิพนธ์ของพระองค์เรื่อง ทัศนะจากอินเดีย (๒๕๓๑) ในรายละเอียดต่อไป ในพระราชนิพนธ์เล่มนี้ ทรงเล่าไว้ตอนต้นเรื่องแก่ “เพื่อน ๆ ที่รักทุกคน” ดังนี้ “เรื่องอินเดียเป็นเรื่องที่ฉันสนใจศึกษามาตั้งแต่เป็นนักเรียน ไม่เคยไปก็เหมือนไปแล้ว แต่จริง ๆ แล้วนับว่าล� ำบาก เนื่องจากสิ่งที่น่าสนใจไม่ได้มีเพียงแต่อดีตของอินเดียเท่านั้น ปัจจุบันของอินเดียและ อนาคตของอินเดีย การพัฒนาอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอินเดีย เป็นสิ่งที่นักศึกษา พึงติดตามเป็นอย่างยิ่ง อินเดียเป็นประเทศใหญ่ ภาวะอันใดที่เกิดขึ้นกับอินเดีย ย่อมมีผลกระทบต่อประเทศ อื่น ๆ ในภูมิภาคด้วย” (หน้า ๓๐) จะเห็นได้ว่าพระองค์สนพระราชหฤทัยอินเดียศึกษาในทุก ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือเหตุการณ์ปัจจุบัน ข้าพเจ้าเคยถามอาจารย์ที่ปรึกษาขณะศึกษา ณ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ว่า ที่อาจารย์แนะน� ำให้เลือกศึกษาทั้งวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในภาควิชาประวัติศาสตร์อินเดียนั้น มีวิธีเลือกอย่างไร อาจารย์ก็อธิบายว่า ถ้าศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ ของอินเดีย วรรณกรรมโบราณ ภาษาโบราณ เช่น บาลี สันสกฤต ก็เป็นแขนงวิชามนุษยศาสตร์ แต่ถ้าศึกษา ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่ วรรณกรรมอินเดียสมัยใหม่ ภาษาในอินเดียที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็จัดเป็น แขนงวิชาสังคมศาสตร์ สรุปได้ว่า อินเดียศึกษามีทั้งวิชาที่จัดเป็นมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในการพระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถึงจุดมุ่งหมายของการเสด็จฯ เยือนอินเดียก็จะเห็นได้ว่าสนพระราชหฤทัยอินเดียทั้งด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ “เมื่อเป็นนักเรียนได้เรียนเกี่ยวกับอินเดียมาก ทั้งด้านประวัติศาสตร์โบราณมาจนถึงปัจจุบัน ทั้ง ด้านศิลปะและวัฒนธรรมอินเดีย รวมทั้งภาษาสันสกฤต เมื่อมีโอกาสก็อยากจะได้มาเห็นบ้านเมืองอินเดีย คืออยากเห็นของจริงที่เคยเห็นแต่ในรูปภาพ อยากรู้จักคนอินเดีย อยากเห็นความเจริญก้าวหน้า เนื่องจาก ได้ข่าวว่าอินเดียได้พัฒนาไปมากทั้งในด้านเศรษฐกิจ ในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=