สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ความสามารถทางดนตรี พรสวรรค์ หรื อ พรแสวง 100 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 2 Apr-June 2015 ที่ต้องท� ำดังนี้เพราะพิณดานโบมีเพียงสายเดียว จึงต้องเปลี่ยนระดับเสียงตัวโน้ตด้วยวิธีการดังกล่าว ดังนั้น นักดนตรีที่บรรเลงพิณชนิดนี้จึงต้องฝึกฝนให้มีทักษะสูงทั้งในด้านโสตประสาทและความละเอียด อ่อนว่องไวของมือที่สัมพันธ์กัน ๕. พิณหยดน�้ ำของจีน พิณโบราณของจีนอีกชนิดหนึ่ง รูปร่างสวยงามแปลกตา ภาษาจีนกลางเรียกว่า “ผีผา” (Pipa) ส่วนภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกว่า “ปี่แป๋” เนื่องจากรูปร่างลักษณะของพิณชนิดนี้คล้าย กับหยดน�้ ำ ผู้ เขียนจึงเรียกเครื่องดนตรีนี้ว่ า “พิณหยดน�้ ำ” โดยซื้อพิณหยดน�้ ำนี้มาทดลอง บรรเลงเล่นดูตัวหนึ่ง แล้วคิดวิธีดีดเป็นเพลงไทย จนส� ำเร็จ หลังจากนั้นจึงต่อวิธีดีดบรรเลงให้ กับลูกศิษย์คนแรกคือ วรรณกาญจน์ บุญยก และธนิดา แสงโสภณ เป็นคนที่ ๒ พิณปี่แป๋นี้มีสาย ๔ สาย ขณะที่ดีด ผู้บรรเลงจะต้องใช้มือซ้ายกดไล่สายพิณขึ้นลงไปตามหย่องไม้เล็ก ๆ บนคอพิณ เพื่อเปลี่ยน ระดับเสียงสูงต�่ ำตามที่ต้องการคล้ายกับการดีดกีตาร์ แต่ที่ยากล� ำบากกว่าคือ การกรอสายพิณปี่แป๋นั้น ใช้ลักษณะการเกานิ้วในมือขวาหลายนิ้วเข้าออกไปมาอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ปลายปิ๊ กที่พันรัดไว้ บนปลายนิ้วหลายนิ้วสัมผัสกับสายพิณ เพื่อให้เกิดเสียงสั่นพลิ้วที่ไพเราะน่าฟัง จึงยากกว่าการรัว โดยใช้ปิ๊กเพียงอันเดียวเหมือนการดีดกีตาร์ และธนิดาก็สามารถฝึกการเคลื่อนไหวนิ้วแบบนี้ได้อย่าง ลื่นไหลน่าฟังในเวลาไม่นานนัก แสดงว่าต้องมีความอุตสาหวิริยะอดทนในการฝึกมาเป็นอย่างดี จึงสามารถบรรเลงเพลงไทยด้วยพิณหยดน�้ ำได้อย่างไพเราะน่าฟัง ๖. พิณซีต้าร์ พิณโบราณของอินเดียที่เรียกว่ า “ซีต้าร์” (Sitar) นั้น เป็นเครื่องดนตรียอดนิยม ซึ่งชาวอินเดียรู้จักกันดีโดยทั่วไป พิณชนิดนี้มี เสียงดังกังวานไพเราะน่าฟัง และมีระบบเสียง ที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนบรรเลงได้ยากยิ่ง ผู้เขียน มีโอกาสได้พิณชนิดนี้มาตัวหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยนายอดิศักดิ์ เศวตนันท์ เป็นผู้น� ำมามอบให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=