สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
99 ชนก สาคริ ก วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ ประเด็นที่น่าสนใจ บางคนอาจคิดว่า การที่ธนิดาสามารถดีดพิณซองก็อกได้อย่างรวดเร็วนั้น คงเพราะคุ้นเคยกับ การดีดพิณกู่เจิงของจีนมาก่อน แต่ตามข้อเท็จจริงแล้ว การดีดพิณพม่านั้นมีความแตกต่างกับการดีดพิณ กู่เจิงมากทีเดียว พิณกู่เจิงมีรูปแบบการเรียงเสียงที่ตรงกันข้ามกับพิณซองก็อก คือ พิณกู่เจิงนั้นน� ำ สายพิณที่มีระดับเสียงสูงมาอยู่ใกล้ตัวผู้บรรเลง ในขณะที่พิณซองก็อกกลับน� ำสายพิณที่มีระดับเสียงสูงไป ไว้ไกลตัวผู้บรรเลง จ� ำนวนสายที่ใช้ดีดและแนวการวางดีดของพิณทั้ง ๒ ชนิดนี้ก็แตกต่างกันด้วย จึงไม่น่า จะเป็นเหตุผลที่ท� ำให้สามารถดีดได้เร็วขึ้น คงเป็นเพราะความสามารถของตัวธนิดาเองมากกว่า ๔. พิณสายเดียวของเวียดนาม มีพิณของเวียดนามอยู่ชนิดหนึ่งมีเสียงดัง ไพเราะน่าฟังมากแต่มีเพียงสายเดียวเท่านั้น พิณชนิด นี้เรียกว่า “ดานโบ” (Dan-Bau) ผู้บรรเลงจ� ำเป็นต้อง บังคับเสียงด้วยการใช้มือข้างหนึ่งปรับระดับเสียงสูง ต�่ ำด้วยการโยกคันบังคับเพื่อปรับระดับความตึงของ สายพิณไปด้วยขณะที่บรรเลง ผู้เขียนน� ำพิณชนิดนี้ มาศึกษาหาวิธีดีดเองอยู่ระยะหนึ่ง แล้วสอนให้ศิษย์ รุ่นพี่ของธนิดาคนหนึ่งชื่อ วรรณกาญจน์ บุญยก จนสามารถดีดบรรเลงพิณดานโบเป็นเพลงไทยได้ส� ำเร็จเป็นคนแรก ต่อมา ธนิดาแสดงทีท่าว่าอยากจะ เรียนดีดพิณชนิดนี้บ้าง ประกอบกับช่วงนั้นบังเอิญมีผู้น� ำเอาพิณดานโบมาเสนอขายให้พอดี ผู้เขียนจึงให้ ธนิดาซื้อไว้ เธอจึงมีพิณดานโบไว้ฝึกที่บ้าน และเพียงชั่วเวลาไม่นานนัก ธนิดาก็สามารถดีดพิณชนิดนี้ได้ เป็นคนที่ ๒ ประเด็นที่น่าสนใจ วิธีดีดพิณดานโบนั้นค่อนข้างยากมากทีเดียว เพราะผู้บรรเลงต้องใช้ทักษะในการดีดสายพิณที่ สลับซับซ้อน กล่าวคือ ขั้นแรกจะต้องใช้นิ้วก้อยในมือเดียวกันกับที่ถือไม้ดีดแตะลงไปที่สายพิณก่อน จากนั้นจึงใช้ปลายไม้ดีดซึ่งท� ำด้วยเศษไม้ไผ่ชิ้นเล็ก ๆ สะกิดไปที่สายพิณเบา ๆ พร้อมกับยกมือขึ้นโดยเร็ว จึงเกิดเสียงดังไพเราะน่าฟัง หากท� ำผิดพลาดตามขั้นตอนที่กล่าวมาแม้เพียงเล็กน้อยก็จะไม่เกิดเสียงดัง กังวานไพเราะน่าฟัง นอกจากการดีดสายพิณให้มีเสียงไพเราะสดใสแล้ว ความยากของการบรรเลงพิณสายเดียว อีกประการหนึ่งคือ การปรับความตึงของสายพิณด้วยคันโยกไม้อันเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงปลายพิณขณะที่บรรเลง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=