สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับงานอินเดียศึกษา : การผสมผสานความรู้ ด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด* ความน� ำ เมื่อได้รับทราบข้อสังเกตจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา ที่ว่า “การก� ำหนดประเภทวิชาและการแบ่งประเภทวิชาออกเป็นสาขาวิชา ภายในส� ำนักธรรมศาสตร์ และการเมือง และส� ำนักศิลปกรรม นั้น บางสาขาวิชามีความไม่สอดคล้องกับชื่อส� ำนัก ดังนี้จึงควรที่ ราชบัณฑิตยสภาจะได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริงทางวิชาการในโอกาส ต่อไป” ท� ำให้ข้าพเจ้าคิดถึงความเป็นจริงในโลกวิชาการว่า ผู้ที่รู้เพียงวิชาเดียวย่อมมีวิสัยทัศน์ที่คับแคบ ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์ ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ บทคัดย่อ การผสมผสานความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมทั้งศาสตร์อื่น ๆ มีปรากฏอยู่ ในหนังสือ ทัศนะจากอินเดีย พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การศึกษาไทยมักแยกความรู้ออกเป็นแขนงต่าง ๆ อย่างเด็ดขาด แต่ในความเป็นจริงศาสตร์ทั้งหลาย เกี่ยวข้องหรือส่งเสริมกันและกัน นโยบายแยกศาสตร์ออกจากกันอย่างเคร่งครัดควรยกเลิก เพื่อให้เกิด ความงอกงามทางวิชาการและเกิดประโยชน์สูงสุด หนังสือ ทัศนะจากอินเดีย ให้ความรู้เรื่องอินเดียด้วย มุมมองด้านศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปะ ซึ่งรวมทั้งศิลปะการถ่ายภาพ และภาพรวม ของอินเดีย ค� ำส� ำคัญ : อินเดียศึกษา ศาสนา วรรณกรรม วัฒนธรรม ศิลปะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=