สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระราชวั งหลวงของกรุงศรี อยุธยากั บงานรูปแบบสั นนิ ษฐาน 94 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 ถัดลงมาทางใต้อีก คือ ซากพระที่นั่งวิหารสมเด็จ ย่อมเคยใช้ส� ำหรับพระราชพิธีส� ำคัญอีกเช่นกัน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเชื่อว่าเป็นแบบอย่างของรัชกาล พระเจ้าปราสาททอง โดยมียอดปรางค์ประดับด้วยพรหมพักตร์ตามอย่างในศิลปะขอมโบราณ ๑๔ และคงเป็นพระที่นั่งองค์แรกที่ก่อผนังด้วยอิฐ ๑๕ ค� ำว่า ยอดปรางค์ คิดไปได้อีกทางหนึ่งว่า ไม่ได้หมายถึง เจดีย์ทรงปรางค์โดยตรง หากแต่หมายถึงชั้นซ้อนลดหลั่น โดยต่อยอดด้วยส่วนบนของปรางค์ ในที่นี้ เชื่อว่าอาจมีแบบอย่างเกี่ยวข้องกับเมรุทิศ เมรุมุมในวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งสร้างในรัชกาลสมเด็จพระเจ้า ปราสาททองเช่นกัน ๑๖ (ภาพที่ ๕, ๕ ก) เขตพระราชฐานชั้นใน บริเวณตะวันตกของพระราชวังหลวง คือ พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ มีมุขยื่นออกจากด้านทั้งสี่ ยอดแหลมคงตั้งต่อขึ้นจากแนวตัดของสันหลังคา สมเด็จพระเพทราชาโปรดให้ สร้างพระที่นั่งองค์นี้เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ ๑๗ การที่สร้างอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในเพื่อเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ จึงชวนให้คิดว่าแรกสร้างอาจมีฝาเป็นไม้ซึ่งไม่เก็บความร้อนเท่าผนังปูน คงอาจมีการเปลี่ยนแปลง เป็นผนังปูนคราวบูรณะครั้งส� ำคัญ คงคราวเดียวกับพระที่นั่งองค์อื่น ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๗๘ ๑๘ (ภาพที่ ๖, ๖ ก) พื้นที่ทางตะวันตกข้างพระที่นั่งมีอ่างใหญ่ ก่อไว้กักเก็บน�้ ำและมีน�้ ำพุ ๑๙ ขอบสระด้านนอกยังมีสิ่งปลูกสร้างอีก เช่น พระที่นั่งทรงปืน สร้างไว้ส� ำหรับเสด็จออกว่าราชการ ปัจจุบัน เหลือเพียงแนวฐานอิฐ ๒๐ แนวถนนในพระราชวังหลวง ปูลาดด้วยอิฐ ก� ำแพงแก้ว และแนวฉนวน ล้วนก่อด้วยอิฐ รวมทั้ง ซากถังกักเก็บน�้ ำซึ่งยังเหลือร่องรอยอยู่ทางเหนือในเขตและนอกเขตพระราชวัง ส่วนพระที่นั่งองค์อื่น หรือต� ำหนักต่าง ๆ โรงช้าง โรงม้า ย่อมปลูกสร้างด้วยไม้จึงไม่เหลืออยู่อีกแล้ว ๑๔ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์; สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ, สาสน์สมเด็จ เล่มที่ ๒๓ , (พระนครฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๐๕), หน้า ๑๓, ๑๓๒ และเล่มที่ ๒๒, (พระนครฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๐๕), หน้า ๒๒๔. ๑๕ เล่มเดิม , หน้า ๓๐. ๑๖ “พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)” , ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๙ , หน้า ๑๑๑. ๑๗ โบราณราชธานินทร์, พระยา, “เรื่อง กรุงเก่า”, ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ ๓๗ , หน้า ๖๐. อนึ่ง ค� ำบรรยายภูมิสถานอันร่มรื่น ท� ำนองเดียวกัน มีอยู่ในบันทึกของชาวต่างประเทศที่ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ จึงท� ำให้เชื่อว่า พระที่นั่งองค์นี้คงสร้างขึ้นในรัชกาลนั้น คือ ก่อนรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ดูที่ ประทีป เพ็งตะโก. “พระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยา”, สถาปัตยกรรมในสถาบันกษัตริย์ . (กรุงเทพฯ, ส� ำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, พิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี. ๒๕๓๙), หน้า ๔๖. ๑๘ “พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)” , ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๙ , หน้า ๒๕๕. ๑๙ เล่มเดิม , หน้า ๖๐-๖๒. ๒๐ เล่มเดิม , หน้า ๖๓; “ค� ำให้การขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม”, ป.อ.บ., หน้า ๓๑.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=