สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สั นติ เล็กสุขุม 93 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ “รื้อพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ลงท� ำใหม่” ๘ คงหมายถึงรื้อเครื่องบนลงท� ำใหม่ คราวหลังสุดใช้เวลา ๑๐ เดือน ๙ (ภาพที่ ๓, ๓ ก) ซากฐานพระที่นั่งถัดมาทางใต้ ค� ำให้การฯ ๑๐ ระบุว่าคือพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท ค� ำมี บรรยายลักษณะของพระที่นั่งองค์นี้ ที่น่าสนใจ คือ “ยอดซุ้มทรงมณฑป นภศูลเก้ายอด” ส� ำหรับ “ซุ้มทรงมณฑป” ย่อมมิใช่ซุ้มของประตูที่มียอดเป็นทรงจอมแห แต่ควรหมายถึงยอดของพระที่นั่ง ซึ่งเป็นทรงกรวยดังหลังคายอดของมณฑป (ภาพที่ ๔, ๔ ก.) ส� ำหรับค� ำว่า นภศูล ตามรูปศัพท์ แปลว่า อาวุธด้ามยาวเสียดขึ้นไปบนฟ้า รู้จักกันในปัจจุบันว่าปักเป็นยอดของปรางค์ แต่หากปักเป็นปลายยอด ของพระที่นั่ง นภศูลย่อมต้องมีขนาดเล็กสมกับปลายยอด ลักษณะจึงต้องย่นย่อลงมากจนอาจท� ำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ข้อสันนิษฐานนี้ขึ้นอยู่กับความแม่นย� ำของค� ำให้การฯ ซึ่งอาจเกิดความสับสนตั้งแต่ ผู้ให้การ หรือผู้จดค� ำให้การไม่ชัดเจน หรือไม่สันทัดในเรื่องของงานช่าง ทั้งความผิดพลาดยังอาจเกิดจาก การแปลมาเป็นภาษาไทยในภายหลังอีก เป็นต้น เนื้อความต่อมาในค� ำให้การฯ ระบุว่าพระที่นั่งองค์นี้ “มีมุขสั้นสองด้าน มีมุขยาวสองด้าน… หลังคาศร (ซ้อน) สามชั้นน่าบัณประเจิด (หน้าบันประเจิด หรือ หน้าบรรพประเจิด)” มุขยาว มุขสั้น ตรวจสอบตรงกับซากฐานที่ยังเหลือ กล่าวคือ มุขสั้นยื่นไปทางเหนือและใต้ มุขยาวยื่นไปทางตะวันออก อันเป็นด้านหน้า และทางตะวันตกซึ่งเป็นด้านหลัง หลังคาซ้อนสามชั้นต่อยื่นทางทิศตะวันออกโดยลดลง อีกหนึ่งชั้นเป็นมุขประเจิดหรือมุขลอย เพราะมีหน้าบัน (หน้าบันประเจิด หรือ หน้าบรรพประเจิด) และ มีเสาจากหลังคาสกัดหน้าขึ้นไปรับ หนังสือค� ำให้การฯ บรรยายงานประดับประดาอย่างวิจิตรพิสดาร แต่ยากที่จะนึกภาพได้โดยสมบูรณ์ ในส่วนการใช้งานพระที่นั่ง มีระบุว่า “เป็นที่เสด็จออกทรงพระราชปราศรัย แก่แขกเมืองต่างประเทศถวายบังคม ภายในพระที่นั่งเป็นที่เสด็จออกรับแขกเมืองบ้าง เจ้าประเทศราชบ้าง ออกขุนนางเมื่อวันราชาภิเษก” พระที่นั่งองค์นี้จึงสร้างขึ้นส� ำหรับพระราชพิธีส� ำคัญ หาได้เป็นที่ประทับ ส่วนพระองค์ไม่ เข้าใจว่าคงสร้างในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อันเป็นช่วงสุดท้ายของยุคต้น ๑๑ การบูรณะครั้งส� ำคัญในยุคปลาย ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ราว พ.ศ. ๒๒๗๗ “ช� ำรุดนักให้รื้อลง ท� ำใหม่ ทรงพระกรุณาสั่งพระยากลาโหม พระยากลาโหมรับสั่งแล้ว ให้รื้อลงปรุงใหม่” ๑๒ ยอดพระที่นั่ง คงหุ้มด้วยดีบุกแต่ไม่ได้ปิดทอง พระราชพงศาวดารฯ บันทึกต่อไปว่า “ทรงพระกรุณาสั่งให้ปิดทองยอด และช่อฟ้าบานลมเชิงกลอนดอกจอกด้วย” ใช้เวลา ๑๐ เดือนจึงส� ำเร็จ ๑๓ ๘ เล่มเดิม , หน้า ๒๘๓. ๙ หน้าเดิม . ๑๐ “ค� ำให้การของขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม”, ป.อ.บ. , หน้า ๒๘. ๑๑ โบราณราชธานินทร์, พระยา, “เรื่อง กรุงเก่า”, ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ ๓๗ , หน้า ๕๒. ๑๒ “พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)”, ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๙ , หน้า ๒๕๔. ๑๓ อ้างแล้ว (เล่มเดิม, หน้า ๒๕๗).

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=