สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระราชวั งหลวงของกรุงศรี อยุธยากั บงานรูปแบบสั นนิ ษฐาน 92 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 หนังสือเก่าเล่มส� ำคัญที่ช่วยเสริมมโนภาพเกี่ยวกับพระราชวังหลวง ได้แก่ ค� ำให้การของ ขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม แปลจากต้นฉบับที่ฝ่ายพม่าจดจากค� ำบอกเล่าของผู้ที่ถูกจับเป็นเชลย เมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย ๑ อีกเล่มหนึ่ง คือ เรื่อง กรุงเก่า พระยาโบราณราชธานินทร์ เมื่อครั้งที่ ท่านรับราชการในต� ำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้เรียบเรียงความรู้จากการตรวจสอบพื้นที่ และสอบสวนความรู้จากเอกสารเก่า และจัดพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๕๐ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย บทที่ว่าด้วย “ภูมิสถานพระนคร (ศรีอยุธยา)” ให้ความรู้และข้อคิดเรื่องต� ำแหน่งของพระที่นั่งต่าง ๆ ในพระราชวังหลวง วัดวาอาราม เส้นทางคมนาคม รวมทั้งที่อยู่ของชุมชนต่างเชื้อสาย ต่างอาชีพก่อนช่วงเวลาเสียกรุง ๒ พระราชวังหลวงมีล� ำน�้ ำลพบุรีอยู่ทางเหนือ ทางใต้คือวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัด ในพระราชวังหลวง (ภาพที่ ๑, ๑ ก) ด้านหน้าของพระราชวังหลวงอยู่ทางตะวันออก มีสนามหลวง ส� ำหรับประกอบพระราชพิธี เรียกว่า หน้าจักรวรรดิ์ เพราะมีพระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ในเขตพระราชฐาน ชั้นนอกเป็นพระที่นั่งจัตุรมุข เข้าใจว่าพระที่นั่งองค์นี้สร้างหรือปรับปรุงขึ้นใหม่ส� ำหรับประทับทอด พระเนตรกระบวนแห่ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ๓ ปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้เหลือเพียงฐาน ศิลาแลงและอิฐ ผนังของฐานประดับด้วยรูปครุฑยุดนาค ปั้นนูนสูงด้วยปูน (ภาพที่ ๒, ๒ ก) บริเวณ พระราชฐานชั้นกลางมีโรงไว้พระพิไชยราชรถ ศาลาลูกขุนใหญ่ พระต� ำหนักตึกส� ำหรับแปลพระราชสาส์น โรงแสง คลังต่าง ๆ ห้องพระภูษามาลา รวมทั้งต� ำหนักน้อยใหญ่ เป็นต้น ๔ สิ่งก่อสร้างที่กล่าวมา คือ ซากฐานของพระที่นั่ง ๓ องค์ เรียงในแนวเหนือ-ใต้ องค์ทางเหนือคือซากพระที่นั่งสองชั้น นามว่า สุริยาสน์อมรินทร์ พระที่นั่งองค์นี้คงมีห้ายอด ต่อมุขโถงยื่นออกไปทางทิศเหนือ อาจจะสร้างขึ้นเพื่อ ประทับทอดพระเนตรข้ามก� ำแพงออกไปทางล� ำน�้ ำลพบุรี ๕ พระยาโบราณราชธานินทร์เข้าใจว่าเป็นไปได้ ที่พระมหาปราสาทองค์นี้สร้างในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือรัชกาลถัดมาคือ แผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์ ๖ พระราชพงศาวดารฯ ระบุงานบูรณะครั้งส� ำคัญในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๘ โปรดเกล้าฯ ให้ “ปรุงเครื่องบน…ท� ำ ๘ เดือนจึงแล้ว ทรงพระกรุณาให้ปิดทอง” เครื่องบนเป็นส่วนหลังคาโครงไม้ ๗ ต่อมา ในรัชกาลสุดท้ายของอยุธยา พ.ศ. ๒๓๐๓ โปรดเกล้าฯ ให้ ๑ “ค� ำให้การของขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม”, ป.อ.บ. , ส� ำนักนายกรัฐมนตรี (แถลงงาน ประวัติศาสตร์ เอกสาร โบราณคดี) , ปีที่ ๓ เล่ม ๒ (พฤษภาคม, ๒๕๑๒), หน้า ๒๐-๓๕. ๒ โบราณราชธานินทร์, พระยา, “เรื่อง กรุงเก่า”, ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ ๓๖, ๓๗ (ภาคที่ ๖๒ และภาคที่ ๖๓) , (พระนคร : องค์การค้า ของคุรุสภา), ๒๕๑๒. ๓ โบราณราชธานินทร์, พระยา, “เรื่อง กรุงเก่า”, ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ ๓๗ , หน้า ๕๔-๕๕. ๔ เล่มเดิม , หน้า ๖๖-๗๐. ๕ เล่มเดิม , หน้า ๕๗ ข้อสังเกตว่าเป็นพระที่นั่งสองชั้น; ดู เพิ่มเติมใน สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์; สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ, สาส์นสมเด็จ เล่มที่ ๑๖ , (พระนครฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๐๕), หน้า ๑๙๓. ๖ โบราณราชธานินทร์, พระยา, “เรื่อง กรุงเก่า”, ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ ๓๗ , หน้า ๕๗-๕๘. ๗ “พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)” , ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ ๓๙ , หน้า ๒๕๗.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=