สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรมเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ และปรับปรุงขยายประเด็นเพิ่มเติมจาก สันติ เล็กสุขุม. งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน : ศิลปะอยุธยา . พิมพ์ครั้งที่ ๓, (ส� ำนักพิมพ์เมืองโบราณ, ๒๕๕๐), หน้า ๓๕-๔๑. พระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา กับงานรูปแบบสันนิษฐาน * สันติ เล็กสุขุม ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ งานสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระราชวังหลวงก่อนสิ้นกรุงศรีอยุธยา ใช้ข้อมูล ที่เป็นบรรดาซากซึ่งเหลืออย่างมากก็เพียงซากฐาน จึงต้องอาศัยเอกสารจากทุกแหล่งที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรายงานผลการศึกษาจากการขุดแต่งบูรณะพระราชวังของกรมศิลปากร ร่วมกับข้อมูลจากการ เดินส� ำรวจพื้นที่ ร่วมกับข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปัตยกรรม ค� ำส� ำคัญ : สันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระราชวังหลวงก่อนสิ้นกรุงศรีอยุธยา พระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่แรกสถาปนาเป็นราชธานี (พ.ศ. ๑๘๙๓) ผ่านมา ยาวนานกว่า ๔๐๐ ปี ย่อมมีงานท� ำนุบ� ำรุง เปลี่ยนแปลง รื้อถอน รวมทั้งงานก่อสร้างเพิ่มเติมอีกมาก คือ ข้อผันแปรส� ำคัญในการศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรม งานปลูกสร้างด้วยไม้ย่อมเสื่อมสภาพจึงมีการรื้อถอน งานก่ออิฐซึ่งถาวรทนทานกว่าก็มีข้อจ� ำกัดด้วยสภาพช� ำรุดตามกาลเวลา คือที่มาของความเปลี่ยนแปลง ทั้งจากการซ่อมแซม การปลูกสร้าง หรือปรับปรุง เพื่อให้เหมาะสมแก่การใช้งานตามยุคตามสมัยนิยม ที่เปลี่ยนผันเรื่อยมาจนสิ้นยุคของราชธานี พระมหาปราสาทในพระราชวังหลวงคงใช้อิฐก่อผนังด้วย หากเป็นฝาไม้รวมทั้งหลังคาที่ใช้ไม้ อายุใช้งานย่อมจ� ำกัด จึงเกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ส่วนการสร้างขึ้นใหม่ซึ่งมีเป็นระยะ คงมีการปรับปรุง แบบอย่างและใช้วัสดุตามความนิยมของแต่ละช่วงเวลา ปัจจุบัน พระมหาปราสาททั้งหมดล้วนเหลือ เพียงซากฐานโดยที่กรมศิลปากรได้บูรณะส่วนที่เหลือไว้แล้ว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=