สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วิบูลย์ ลี้ สุวรรณ 89 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ วัดส� ำคัญอีกวัดหนึ่งที่อยู่ บนเส้ นทางไป บ้านแสน คือ วัดบ้านแงก หรือ วัดบ้านแยก วัดเก่าแก่ อายุประมาณ ๓๐๐ ปี วิหารมีขนาดเล็กกว่า และไม่ วิจิตรงดงามเท่าวิหารวัดบ้านแสน โครงสร้างเป็นไม้ หลังคามุงกระเบื้องขอ สันหลังคามีช่อฟ้าตรงกึ่งกลาง หลังคาลดลงสองตับ ผนังทึบ เจาะช่องหน้าต่างเล็ก ๆ ประตูทางเข้าอยู่ด้านสกัดหน้า มีซุ้มไม้แกะสลักปิดทอง เพดานภายในตกแต่งด้วยไม้แกะสลักปิดทอง และ ลายปิดทองล่องชาด มีอาสน์สงฆ์และธรรมาสน์อยู่ ด้านซ้ายมือ ขนาดของวิหารค่อนข้างเล็กและคับแคบ อาจเป็นเพราะเป็นวัดประจ� ำหมู่บ้านและสร้างด้วย ศรัทธาของชุมชนที่มีจ� ำกัดเป็นสมถศิลป์ตามฐานะของ ชุมชน พระประธานในวิหารวัดบ้านแงก วัดบ้านแงกมีอาคารอื่น ๆ เพื่อการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเดียวกับวัดบ้านแสน คือ กุฏิสงฆ์ โรงครัว และศาลาอเนกประสงค์หรือศาลาการเปรียญ วัดบ้านแสนและวัดบ้านแงกเป็นประดุจอัญมณีที่แฝงตัวอยู่ในพงไพร ดังที่กล่าวแล้ว จะเห็นว่าศิลปกรรมเมืองเชียงตุงแสดงความเชื่อมโยงกันของศิลปะในภาคเหนือ ของไทยและศิลปะของกลุ่มชนในประเทศพม่า ซึ่งแต่เดิมมีสายสัมพันธ์กันทั้งชาติพันธุ์ ภาษา และการนับถือ พระพุทธศาสนา ส่งผลถึงรูปแบบของงานศิลปกรรมโดยตรง. เอกสารอ้างอิง ประวัติแคว้นเชียงตุง คอลัมน์ภาษาไทย ๕ นาที จ� ำนงค์ ทองประเสริฐ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๖. พระปลัดเสน่ห์ ธัมมวโร. วิถีไทเขิน เชียงตุง. เชียงใหม่. มรดกล้านนา. ๒๕๕๐. (ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/เชียงตุง)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=