สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ศิ ลปะเชี ยงตุง 88 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 อาคารส� ำคัญอีกหลังหนึ่งของวัดบ้านแสน คือ อาคารอเนกประสงค์หรือศาลาการเปรียญ ตั้งอยู่ขวามือของวิหาร รูปทรงแบบพม่า หลังคาจั่วซ้อนกัน ๒ ชั้น ชักชายคาปีกนกตับที่ ๒ ลงมาทั้ง ๔ ด้าน จั่วหลังคาไม่อ่อนช้อยเหมือนวิหารหลวง ภายในมีเสารับน�้ ำหนักโครงสร้างหลังคาเพียงแนวเดียว อีกข้างหนึ่ง ก่อผนังขึ้นรับน�้ ำหนักแทน เจาะประตูทางเข้าที่ด้านสกัดหน้าและหลังด้านขวามืออีก ๒ ช่อง กะดี (กุฏิสงฆ์) วัดบ้านแสนมี ๖ หลัง แต่ละหลังก่อสร้างอย่างประณีต โครงสร้างท� ำด้วยไม้ ก่อผนังด้วยอิฐฉาบปูน แบ่งรูปทรงหลังคาคล้ายคลึงกัน คือ หลังคาจั่วมุงด้วยกระเบื้องดินเผา จั่วตกแต่ง ด้วยดินเผาเคลือบเป็นรูปต่าง ๆ เช่น พระอินทร์ นกโงงา (นกหัสดีลิงค์) นกยูงทั้งแบบล� ำแพนหางและ ไม่ล� ำแพน กระต่าย การเลือกรูปสัตว์คงเลือกตามปีนักษัตรที่ก่อสร้างอาคาร หรือปีเกิดของเจ้าของศรัทธา ผู้สร้างอาคาร กุฏิทุกหลังมีมุขโถงด้านหน้า มีพนักเตี้ย ๆ ล้อมเป็นสัดเป็นส่วน แต่ไม่ปิดบังสายตาจากภายนอก พื้นที่นี้ใช้เป็นที่พบปะกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างฆราวาสกับพระสงฆ์ ด้านในกุฏิเป็นโรงครัวที่ติดไฟ อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ความอบอุ่นและต้มน�้ ำชงชา ภายในมีห้องขนาดเล็ก เป็นที่จ� ำวัดของพระสงฆ์ และสามเณร โรงครัวเป็นส่วนส� ำคัญของวัดในเชียงตุง เพราะต้องท� ำอาหารเลี้ยงพระเณรเป็นกิจวัตร วัดจึง ต้องมีข้าวสารอาหารแห้งไว้เป็นเสบียง โดยเฉพาะวัดที่ห่างไกลจากชุมชน วิหารวัดบ้านแงก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=