สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วิบูลย์ ลี้ สุวรรณ 87 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ หลังคากะดีตกแต่งด้วยสังกะสีฉลุคล้ายศิลปะพม่า ภายในวิหารประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ เขตพระประธานเป็นปริมณฑลอันศักดิ์สิทธิ์ พื้นที่ส� ำหรับ พระสงฆ์มีอาสนะและธรรมาสน์ และส่วนของฆราวาสที่เข้ามาประกอบพิธีหรือฟังธรรม ผนังวิหารตกแต่ง ด้วยลายทองล่องชาด ๑ จิตรกรรมสีฝุ่นคล้ายวิหารในล้านนา โดยเฉพาะแผงไม้คอสองและบานประตูด้านใน ปิดทองล่องชาดภาพหม้อปูรณฆฏะหรือหม้อน�้ ำปรณกลศ ๒ โบสถ์วัดบ้านแสนอยู่ด้านขวามือของวิหาร เป็นโบสถ์โถงขนาดเล็ก ไม่มีผนัง ตัวอาคารยกสูง ประมาณเมตรเศษ มีบันไดทางขึ้นแกะสลักเป็นรูปพญานาคอยู่ประชิดกับวิหาร เสมาหรือสีมาเป็นก้อนหิน วางไว้ ๔ มุม หลังคาจั่ว ชายคาปีกนกล้อมทั้ง ๔ ด้านมุงด้วยกระเบื้องดินเผา ภายในอุโบสถไม่มีพระพุทธรูป คงเป็นเพราะมีขนาดเล็ก เมื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาคงอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานยังแท่น ที่ตั้งไว้ วัดในเชียงตุงไม่มีอุโบสถทุกวัด สามารถไปท� ำพิธีกรรมในวัดใกล้เคียงได้เช่นเดียวกับวัดในล้านนา ๑ ปิดทองล่องชาด กลวิธีการปิดทองค� ำเปลวลงบนสิ่งต่าง ๆ เช่น ไม้แกะสลักหน้าบันโบสถ์วิหาร เสาอาคาร ธรรมาสน์ โดยใช้ยางรงค์ละลาย น�้ ำทารองพื้น ทายางรักอย่างข้น ๒-๓ ครั้ง ทารักน�้ ำเกลี้ยง เมื่อรักแห้งจึงปิดทอง จากนั้นใช้น�้ ำมันยางผสมชาดทาพื้นลายและช่องว่างระหว่าง ลายให้เป็นสีแดง การปิดทองบนพื้นสีแดงหรือชาดพบมากในศิลปะล้านนา ซึ่งแบ่งเป็น ๓ วิธี คือ ปิดทองลายฉลุ โดยปิดทองลงบนพื้นรักตาม ลายที่ฉลุไว้บนกระดาษ ลวดลายจะซ�้ ำ ๆ กัน นิยมใช้ตกแต่งแผ่นไม้คอสอง เสา โบสถ์วิหาร ลายขูด เป็นการขูดเส้นลงบนพื้นที่ปิดทองไว้แล้ว คล้ายการท� ำลายขูดบนเครื่องเขิน เส้นที่ขูดเอาผิวทองออกจะเป็นลวดลายสีเข้มหรือสีแดงชาดบนพื้นทอง คล้ายการเขียนลายเส้นบนพื้นทอง ท� ำให้ได้ลวดลายที่ละเอียดกว่าการปิดทองตามแบบลายฉลุ ลายผสม เป็นการใช้วิถีขูดผสมกับลายฉลุ ใช้วิธีขูดเพิ่มรายละเอียดบนลายฉลุ เช่น เขียนหน้าภาพบุคคล เทวดา สัตว์ ดอกไม้ ให้มีความประณีตยิ่งขึ้น ๒ หม้อปูรณฆฏะ ลวดลายรูปหม้อน�้ ำ บรรจุกอบัว มีก้าน ใบ และดอก สูงพ้นปากหม้อลัดหลั่นกันเป็นพุ่ม พบมากในศิลปะล้านนา ท� ำเป็นลายค� ำ ลายปูนปั้น ตกแต่งโบสถ์ วิหาร หอไตร เช่น ลายค� ำหม้อปูรณฆฏะวิหารวัดปงยางคก อ� ำเภอห้างฉัตร จังหวัดล� ำปาง ลายปูนปั้นตกแต่ง ฐานหอไตร วัดพระสิงห์ อ� ำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ หม้อปูรณฆฏะมีต้นก� ำเนิดในประเทศอินเดีย หมายถึง หม้อน�้ ำอันมีน�้ ำเต็มบริบูรณ์ มีไม้เลื้อยออกมาสองข้าง แสดงสัญลักษณ์ของความเจริญงอกงามและความร่มเย็น ในล้านนามักเรียก หม้อดอก หรือ ลายหม้อดอก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=