สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วิบูลย์ ลี้ สุวรรณ 85 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ บริเวณด้านหน้าวัดมีก� ำแพงก่ออิฐสูงประมาณ ๑ เมตร ยาวไปตามแนวเนิน ประตูเข้าวัดมี ๒ ประตู คือ ประตูเข้าเขตพุทธาวาสอยู่หน้าวิหาร ประตูเข้าเขตสังฆาวาสซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่กุฏิ เสาประตู ท� ำด้วยไม้จริง เจาะรู ๒ ต้น ตั้งประกับกันระหว่างช่องประตูทั้งสองข้าง ใช้ไม้ไผ่สอดกันสัตว์เข้าไปในบริเวณวัด ผังบริเวณวัดแบ่งเป็นเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส โดยใช้ระดับพื้นที่แยกพื้นที่ออกเป็นส่วน ๆ พื้นที่สูงสุดเป็นเขตพุทธาวาส ประกอบด้วยวิหารหลวง วิหารอื่น ๆ และอุโบสถ ต�่ ำลงไปเป็นเขตสังฆาวาส ประกอบด้วยกุฏิ เว็จกุฎี โรงครัว เป็นต้น อาคารที่ส� ำคัญที่สุดคือ วิหารโหลง (วิหารหลวง) ใช้ประกอบพิธีกรรมระหว่างสงฆ์กับฆราวาส เป็นอาคารชั้นเดียว ตั้งฉากกับเส้นแนวระดับของพื้นที่ที่ลาดชันให้เป็นพื้นราบพอส� ำหรับเป็นที่ตั้ง ของวิหารและอาคารอื่น ๆ รูปแบบของวิหารหลวงคล้ายกับวิหารล้านนาของไทย สิมล้านช้างที่หลวงพระบาง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว สันนิษฐานว่าสร้างราวสมัยพญากือนาแห่งเชียงใหม่ เพราะช่วงเวลาดังกล่าว เชียงใหม่ขยายอ� ำนาจอย่างกว้างขวางทั้งด้านการเมืองและพระพุทธศาสนา วิหารหลวงระยะแรก คงเป็นวิหารโถงคล้ายวิหารโถงในล้านนา ภายหลังจึงสร้างผนังเช่นเดียวกับอาคารอื่น ๆ ที่ถูกสร้างเข้ามา ต่อเชื่อม ก่อผนัง เจาะประตูทางเข้าท� ำให้มุมมองเสียหาย วิหารยุคแรกคงเป็นวิหารขนาดเล็กที่จ� ำกัด ด้วยแรงงาน วัสดุ และเป็นวัดประจ� ำชุมชน ขนาดจึงเล็กไม่จ� ำเป็นต้องใหญ่โต แต่วิหารนี้คงได้รับการต่อเติม เรื่อยมา จนปัจจุบันมีขนาด ๙ ห้อง โครงสร้างเป็นไม้ หลังคาทรงจั่วซ้อนสองตับ มุงด้วยกระเบื้องดินขอ ลดมุขด้านหน้าและด้านหลัง คล้ายวิหารในล้านนาและล้านช้าง หน้าบันวิหารวัดบ้านแสน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=