สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วิบูลย์ ลี้ สุวรรณ 83 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ วัดในเมืองเชียงตุงที่น่าสนใจมีหลายวัด เช่น วัดอินวิหาร ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่ส� ำคัญ เฉพาะ พระประธานนั้นสานด้วยไม้ไผ่เป็นโครงแล้วลงรักปิดทองค� ำเปลว วัดจอมตอง เป็นวัดส� ำคัญที่มีพระธาตุ จอมตองบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ ในเวียงเชียงตุงยังมีวัดเรียงรายกันมากหลายวัด แต่ละวัดมีศิลปกรรมตามแบบอย่างเชียงตุงผสมกับศิลปะพม่าทั้งสิ้น วัดส� ำคัญที่อยู่ห่างจากเมืองเชียงตุงไปตามแม่น�้ ำท่าเดื่อ ไปทางเหนือบนเส้นทางระหว่างเมือง เชียงตุงไปเมืองลาซึ่งเป็นชายแดนติดต่อไปยังเมืองเชียงรุ่งประมาณ ๘๐ กิโลเมตร เป็นเส้นทางการค้า โบราณตัดผ่านเขตสูงชัน คือ วัดบ้านแสน วัดชุมชนบ้านแสนซึ่งเป็นชาวลัวะที่เรียกตนเองว่า ไทดอย ออกเสียงเป็น ไตหลอย ต� ำมิละ หรือ หลอยต� ำมิละ ซึ่งมีประวัติศาสตร์ชุมชนเป็นมุขปาฐะว่า “บรรพบุรุษ ของตนคือ หลอยต� ำมิละ อาศัยอยู่ที่เวียงเหล็กมาตั้งแต่โบราณ จนเมื่อพญามังรายตามล่าฟานทองมายัง บริเวณดังกล่าว เห็นว่าเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมต่อการก่อตั้งบ้านเรือน จึงส่งทหารมาขับไล่หลอยต� ำมิละ ที่อยู่เดิม หลอยต� ำมิละจึงออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านแสนและบ้านแง่ก” สันนิษฐานว่าวัดบ้านแสนสร้างในสมัยพญากือนาแห่งเชียงใหม่ ช่วงเวลาดังกล่าวมีการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาจากเมืองเชียงตุงไปยังเมืองเชียงรุ่ง ท� ำให้ชุมชนไตหลอยที่อยู่ระหว่างเส้นทางการค้า ระหว่างเมืองดังกล่าวรับพระพุทธศาสนามาไว้ในชุมชนของตน โดยได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้าผู้ครอง นครเชียงตุง ชุมชนบ้านแสนแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน ๆ คือ พื้นที่เกษตรกรรม แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ไฮ่ข้าว (ไร่ข้าว) ดังภาษิตล้านนาว่า “ลัวะเยี้ยไร่ ไทใส่นา” ข้าวไร่ไม่ต้องการน�้ ำมาก จึงไม่ต้องท� ำกระทงนา แต่มีการถางป่าและเผาลักษณะไร่หมุนเวียนและป่าเมี่ยง (ไร่ชา) รอบหมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่สูงชัน บ้านเรือนของชาวลัวะบ้านแสนเป็น เรือนยาว มีอยู่ ๘ หลัง แต่ละหลังมีผู้อยู่อาศัยประมาณ ๔๐ คน หรือประมาณ ๑๐ ครอบครัวขึ้นไป ตัวเรือนอยู่บนพื้นลาดเชิงเขาที่ปรับพื้นที่ให้กว้าง ด้านรี หรือด้านยาวสร้างตามแนวพื้นที่ซึ่งปรับไว้ เว้นพื้นที่ด้านสกัดไว้เป็นลานกิจกรรมอเนกประสงค์ เรือนยาว แต่ละหลังจึงวางตามแนวยาวลดหลั่นกันลงไป เรือนยาวยกพื้นสูงประมาณ ๑.๕-๒ เมตร โครงสร้างหลัก คือ เสา พื้น ผนัง ท� ำด้วยไม้จริง โครงสร้างหลังคาท� ำด้วยไม้ไผ่ มุงด้วยตับแฝก โดยมุงต�่ ำลงมาจนจดระดับพื้น มีบันไดทางขึ้นด้านสกัด ทั้งสองข้าง มีพื้นที่ส� ำหรับรับแขกแปลกหน้า เพราะเป็นธรรมเนียมของชาวลั้วะจะไม่ให้คนแปลกหน้า เข้าไป ดังจะเห็นได้จากมีเฉลวหรือตาเหลวแขวนไว้เหนือประตูทางเข้าเรือนแสดงอาณาเขตส่วนตัว นอกจากนี้ ภายในเรือนมืดมาก หากไม่ปรับสภาพสายตาก่อนจะมองไม่เห็นได้ในทันที เหนือประตู ทางเข้าเรือนจนถึงอกไก่กรุด้วยไม้ไผ่สานเป็นตาห่าง ๆ เพื่อระบายควันไฟจากตัวเรือน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=