สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วิบูลย์ ลี้ สุวรรณ 81 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ประชากรที่อาศัยอยู่นอกเมืองส่วนใหญ่ใช้พื้นที่ราบระหว่างเนินเขาเรียงรายกันไปตามแนว แม่น�้ ำท่าเดื่อหรือแม่น�้ ำเดื่อที่ไหลขึ้นไปทางเหนือ อาชีพหลัก คือ การท� ำนาท� ำไร่โดยอาศัยน�้ ำจากแม่น�้ ำ การตั้งบ้านเรือนมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ นอกจากประกอบอาชีพท� ำไร่ท� ำนาแล้วยังมีอาชีพเสริมตาม ความช� ำนาญของแต่ละถิ่น เช่น ท� ำอิฐ ท� ำถั่วเน่า สานหมวก ต้มเหล้า สิ่งที่น่าสนใจ คือ วิถีชีวิตที่เรียบง่าย บ้านเรือนสร้างจากวัสดุท้องถิ่น เช่น ไม้ อิฐ ดิน โดยแปรรูปวัตถุดิบเหล่านี้มาสร้างเป็นโครงสร้างของ บ้านเรือนได้อย่างเหมาะสมลงตัว เทคโนโลยีส� ำคัญในการก่อสร้างบ้านของชาวเชียงตุงที่ใช้ดินเหนียว เป็นส่วนประกอบส� ำคัญ คือ การใช้ดินเหนียวผสมฟางข้าวอัดเป็นก้อน ตากห้องแล้วก่อ สอด้วยดิน ฉาบ ด้วยขี้วัวหรือขี้ควาย ทาด้วยปูนขาว ผนังดินนี้ช่วยให้ภายในอาคารอบอุ่นและไม่ร้อนในฤดูร้อน หากไม่ใช้ ดินก้อนก่อผนัง อาจใช้ไม้ไผ่ท� ำโครงระหว่างเสาแล้วอัดด้วยดินเหนียว ฉาบด้วยขี้วัวหรือขี้ควาย การก่อผนัง อีกแบบหนึ่ง คือ ก่อด้วยอิฐเช่นเดียวกับอิฐมอญ การก่ออิฐมักไม่ฉาบปูนอาจเป็นเพราะอิฐมีความ คงทนเพียงพอแล้ว อย่างไรก็ตาม บ้านเรือนของชาวเชียงตุงในชนบทมีความเรียบง่าย งดงาม สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของผู้คน บ้านเตาห้วย (บ้านห้วยสาหร่าย)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=