สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วิบูลย์ ลี้ สุวรรณ 79 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๙๗ เกิดขึ้นเมื่อกรมหลวงวงศาธิราชสนิทซึ่งน� ำทัพมารบเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ พักกองทัพอยู่ที่น่าน ส่งหนังสือมาขอกองทัพและอาวุธเพิ่มเติม เมื่อได้แล้วจึงยกเข้าตีอีกครั้ง ผลปรากฏว่า ทัพสยามตีเชียงตุงไม่ส� ำเร็จเพราะหัวเมืองล้านนาไม่เต็มใจสนับสนุน ในที่สุด เมื่ออังกฤษยึดพม่าได้ทั้งประเทศ เชียงตุงจึงเป็นอาณานิคมของอังกฤษไปด้วย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ แต่ยังมีเจ้าฟ้าปกครองเชียงตุงในสมัยนี้ ท� ำให้เกิดเจ้าฟ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเชียงตุง พระนามว่า เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง หรือ เจ้าอินแถลง ซึ่งร่วมสมัยกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของประเทศสยาม พระองค์ปกป้องเมืองเชียงตุงไม่ให้กลายเป็นเมืองอาณานิคม ของจักรวรรดิอังกฤษ แต่หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ เชียงตุงก็ตกไปอยู่ภายใต้อ� ำนาจของอังกฤษ จนกระทั่งในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๘๘) หลังจากไทยลงนามเป็น พันธมิตรกับญี่ปุ่น รัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้จัดตั้งกองทัพพายัพ และส่งก� ำลังทหารที่มี พลตรี ผิน ชุณหะวัณ เป็นแม่ทัพ เข้ายึดครองเมืองเชียงตุงได้เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ และยึดเมืองพานจากอังกฤษ มาจัดตั้งเป็นส่วนหนึ่งของไทยในชื่อ สหรัฐไทยเดิม โดยแบ่งการปกครอง เป็นอ� ำเภอ ได้แก่ เมืองพยาก เมืองยอง เมืองเล็น เมืองซาก เมืองเป็ง เมืองสาด และเมืองหาง มีทหาร และพลเรือนไทยเข้าไปปกครองอยู่ ๒ ปีเศษ เมืองเชียงตุง รัฐบาลไทยได้ทูลเชิญ เจ้าเมืองเหล็กพรหมลือ โอรสของเจ้าก้อนแก้วอินแถลง (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๔๔๑) มาเป็น เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราชยศพรหมลือ ครองเมืองเชียงตุง โดยมีพลตรี ผิน ชุณหะวัณ เป็นข้าหลวงใหญ่ นอกจากนั้น กองทัพไทยยังเข้าไป โจมตีและปกครองเมืองตองยีทางใต้ของเมืองมัณฑะเลย์ และหวังจะครอบครองสิบสองปันนาอีกด้วย เมื่อสงครามสิ้นสุด ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม ไทยจึงคืนดินแดนสหรัฐไทยเดิมให้แก่อังกฤษ เจ้าฟ้าพรหมลือ และครอบครัวอพยพมาอยู่ที่เชียงใหม่ อาคารที่ท� ำการของสหรัฐไทยเดิม เมืองเชียงตุง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=