สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ศิ ลปะเชี ยงตุง 78 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 สมัยพญากือนา (พ.ศ. ๑๙๑๐-๑๙๓๑) ถึงสมัยพญาแก้ว (พ.ศ. ๒๐๓๘-๒๐๖๘) ซึ่งเป็น ช่วงที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในอาณาจักรล้านนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากเชียงใหม่ สู่เชียงตุงไปถึงเชียงรุ่ง (สิบสองปันนา เมืองเอกในเขตปกครองตนเองของชนชาติไท มณฑลยูนนาน ประเทศจีน) จึงเป็นไปได้โดยง่าย แบ่งได้เป็น ๒ ช่วง คือ ในสมัยพญากือนาพระสงฆ์นิกายรามัญวงศ์ (พม่าผสมมอญ) จากวัดสวนดอก สมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔-๒๐๓๐) นิกายสิงหล (สุโขทัย อยุธยา) จากวัดป่าแดง ได้ออกเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แก่ชาวเมือง รวมถึงวัฒนธรรม ตัวอักษร และ ภาษาด้วย ดังนั้น ตัวอักษรเมืองของล้านนาและตัวเขียนของไทเขินจึงใกล้เคียงกันมาก ความสัมพันธ์ ระหว่างเชียงตุงกับเชียงใหม่เป็นไปในลักษณะเครือญาติ อย่างไรก็ตาม หลังจากสมัยของท้าวผายู ความสัมพันธ์ระหว่างเชียงใหม่กับเชียงตุงระงับไป ปรากฏหลักฐานว่า เชียงตุงมาขึ้นกับเชียงใหม่อีกครั้ง ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ซึ่งเจ้าเมืองเชียงตุงในขณะนั้นคือ พญาศรีสัทธรรมราชาจุฬามณี ความสัมพันธ์ ระหว่างเชียงใหม่กับเชียงตุงสิ้นสุดลงเมื่อเชียงตุงยอมเป็นประเทศราชของพม่า พ.ศ. ๒๑๐๗ พญาแก้วรัตนภูมินทร์ ยอมอ่อนน้อมต่อพม่าในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง และเป็น ก� ำลังส� ำคัญให้พม่าในการปราบปรามรัฐไทยอื่น ๆ เชียงตุงเป็นประเทศราชของพม่าอย่างสงบอยู่ ๒๐๐ ปี จนกระทั่งสมัยพญากาวิละกอบกู้เชียงใหม่จากการยึดครองของพม่าหันมาเป็นประเทศราชของสยาม พญากาวิละได้ยกทัพไปตีเมืองต่าง ๆ ตามแม่น�้ ำสาละวินรวมถึงเมืองเชียงตุง และเกณฑ์ชาวไทเขินให้เข้ามา ตั้งรกรากในเชียงใหม่และเกลี้ยกล่อมให้เชียงตุงมาขึ้นกับเชียงใหม่ดังเดิม จนถึงสมัยของเจ้ามหาขนาน จึงกลับไปเป็นประเทศราชของพม่าอีกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๖ เมื่อเชียงตุงไปเป็นประเทศราชของพม่าอีกครั้งนั้น เชียงใหม่ยังเป็นประเทศราชของสยาม ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับสยาม ท� ำให้สยามไม่ไว้ใจเชียงตุง จึงให้เชียงใหม่คอยสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด สุดท้ายจึงกลายเป็นสงครามเชียงใหม่-เชียงตุง ๓ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๙๓ เจ้ามหาขนานเป็นเจ้าเมืองเชียงตุง เจ้าหลวงพุทธวงศา (พ.ศ. ๒๓๖๙- ๒๓๘๙) เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ เกิดจากเจ้านายเชียงรุ่งหนีลงมาหลวงพระบาง ขอความช่วยเหลือจาก กรุงเทพฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สยามจึงถือโอกาสขยายอ� ำนาจไปเชียงรุ่ง โดยต้องตีเชียงตุงให้ได้ก่อน กรุงเทพฯ ให้เชียงใหม่เป็นทัพใหญ่ แต่ตีเมืองเชียงตุงไม่ได้ การที่คิดจะไป ยึดเชียงรุ่งจึงเลิกไป ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๙๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงที่อังกฤษ ขยายอ� ำนาจเข้ามาในพม่า พระองค์จึงโปรดให้ยกทัพไปตีเชียงตุงโดยยกทัพไปจากกรุงเทพฯ ให้เชียงใหม่ กับเชียงแสนเป็นทัพหนุน แต่เมื่อทัพจากกรุงเทพฯ ไปถึงเชียงแสน ทางเชียงใหม่ขอระงับทัพ แจ้งว่า ส่งเสบียงไม่ทัน กรุงเทพฯ จึงเกณฑ์เสบียงจากหลวงพระบาง แล้วจึงยกทัพเข้ายึดเชียงตุง แต่ไม่ส� ำเร็จ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=