สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วิบูลย์ ลี้ สุวรรณ 77 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ อันเป็นที่มาของชื่อ เชียงตุง และได้อพยพชาวจีนจากยูนนานมาอยู่ ต่อมาทนกับโรคภัยไข้เจ็บไม่ไหว จึงอพยพกลับไปหมด ทิ้งน�้ ำเต้าไว้ผลหนึ่ง น�้ ำเต้านั้นแตกออกกลายเป็นคนซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวลัวะ ที่อาศัยในบริเวณนั้นสืบต่อมา พงศาวดารของเมืองได้กล่าวไว้ว่า เมื่อจุลศักราช ๗๙๑ พญามังราย (พ.ศ. ๑๘๓๙-๑๘๖๐) ได้เสด็จประพาสป่าและทรงไล่กวางทองมาจนถึงเมืองเชียงตุง พระองค์ทรงเล็งเห็นภูมิประเทศของ เมืองเชียงตุงก็พอพระทัยมาก จึงสั่งให้ข้าราชบริพารสลักรูปพรานจูงหมาพาไถ้แบกธนูไว้บนยอดดอย ที่เห็นเมืองทั้งเมือง หลังจากนั้น พระองค์ก็เสด็จกลับไปเมืองเชียงรายแล้วทรงส่งกองทัพ มีแม่ทัพนามว่า ขุนคง และ ขุนลัง ให้มาชิงเมืองเชียงตุงจากชาวลัวะแต่ก็ไม่ส� ำเร็จ พระองค์จึงส่ง มังคุม และ มังเคียน ซึ่งเป็นชาวลัวะที่อาศัยอยู่กับพระองค์มารบอีกครั้ง ปรากฏว่าได้ชัยชนะ พญามังรายจึงมอบให้มังคุม และมังเคียนปกครองเมืองเชียงตุง ภายหลังเมื่อมังคุมและมังเคียนสิ้นชีวิต พญามังรายจึงส่ง เจ้าน�้ ำท่วม (พ.ศ. ๑๘๖๓-๑๘๖๗) ผู้เป็นราชบุตรไปปกครองเมืองเชียงตุงเมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๖ เชียงตุงจึงเป็นเมือง “ลูกช้างหางเมือง” หรือ “เมืองลูกหลวง” ขึ้นกับอาณาจักรล้านนา สิ่งที่น่าสนใจตอนหนึ่งในต� ำนานเรื่องนี้ คือ การกล่าวถึงเมืองเชียงตุงในอดีต ซึ่งระบุว่า มังคุมครองเมืองได้ ๑๗ ปีก็สิ้นชีพ และมังเคียนครองเมืองได้ ๗ ปีก็เสียชีวิต หลังจากนั้น เมืองเชียงตุง จึงเป็นเมืองร้างเป็นเวลา ๑๐ ปี พญามังรายจึงส่ง พระยานาถะมู ไปครองเชียงตุงในจุลศักราช ๘๓๓ (พ.ศ. ๑๘๑๔) หลังจากนั้นพระยานาถะมูจึงโปรดให้สร้างเวียงเชียงเหล็กในปีถัดมา ในปีต่อ ๆ มา ชาวลัวะได้รุกรานเมืองและทดน�้ ำไปสู่เมืองเพื่อจะให้น�้ ำท่วมเมือง พระยานาถะมู เจ้าเมืองในขณะนั้นสิ้นพระชนม์หลังครองเมืองได้ ๑๔ ปี พระยาน�้ ำท่วมกินเมืองแทนพ่อในจุลศักราช ๘๔๕ ในจุลศักราช ๘๙๑ พระยาผายู (พ.ศ. ๑๘๘๙-๑๘๙๘) กษัตริย์แห่งเมืองเชียงใหม่ ได้ส่งพระโอรส ไปครองเมืองเชียงตุง คือ พระยาเจ็ดพันตู โหรของพระองค์ได้ท� ำนายไว้ว่า “เมืองเชียงตุงเป็นเมืองนามจันทร์ น�้ ำไหลจากทางทิศใต้ไปทิศเหนือ ผู้หญิงกินเมืองดี ถ้าผู้ชายกินเมืองให้เลี้ยงเจนเมือง ๕๐๐ นา และ สร้างเจดีย์เป็นชื่อเมืองจึงจะดี” ในการเสด็จไปครองเมืองเชียงตุงในครานั้น พระยาเจ็ดพันตูทรงน� ำเอา ช้างม้าคนพลติดตามไปเป็นจ� ำนวนมาก รวมทั้งพระไตรปิฎกและพระสงฆ์ ๔ รูป คือ พระมหาธัมมไตร จากวัดพระแก้วเชียงราย พระธัมมลังกา วัดหัวข่วง พระทสปัญโญ วัดพระกลาง พระมหาหงสาวดี วัดจอมทอง เมืองเชียงใหม่ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเมืองเชียงตุงกับเชียงใหม่สมัยราชวงศ์มังราย สามารถแบ่งได้ ดังนี้ ในยุคแรกเป็นแบบเครือญาติและขุนนาง ยุคตอนกลาง ขุนนางปกครอง และยุคสุดท้ายราชวงศ์ก็ได้ กลับมาปกครองอีกครั้ง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=