สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วิ ธี ดี ดพิ ณกู่เจิ งแบบไทย 72 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 แผนผังตัวโน้ตที่แสดงไว้ในภาพ “ลักษณะการเรียงเสียงของพิณกู่เจิง” มีเพียง ๕ ตัว คือ ๑ (ซอล) ๒ (ลา) ๔ (โด) ๕ (เร) ๖ (มี) ตัวเลขชุดนี้จะเรียงกันเป็นระบบเสียงที่เรียกว่า “โน้ต ๕ ตัว” ซึ่งจะให้เสียงดนตรีที่รื่นหู และไพเราะน่าฟังเวลาที่ใช้นิ้วกรีดผ่านสายพิณหลาย ๆ เส้นพร้อมกัน ด้านขวาสุดของภาพดังกล่าว เป็นระดับเสียงต�่ ำ คือ เลข ๕ (เสียงเร) ส่วนด้านซ้ายสุดเป็นระดับเสียงสูงสุด (เสียงเร) เช่นเดียวกัน การเรียงระดับเสียงของพิณกู่เจิงท� ำได้หลายสเกลขึ้นอยู่กับเพลงที่บรรเลงหรือจุดประสงค์ของผู้ดีด จากตัวอย่างโน้ตพิณกู่เจิงที่ได้แสดงไว้ในภาพด้านบนนั้น ผู้เขียนใช้โปรแกรม Excel ของ บริษัท Microsoft Office ในการเขียน เพราะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปและเหมาะส� ำหรับการเขียนข้อมูล ในลักษณะตารางเช่นโน้ตดนตรี โดยแบ่งบรรทัดออกเป็น ๒ ส่วนคู่กัน คือ ช่องบนแสดงต� ำแหน่งของ มือขวา ช่องล่างแสดงต� ำแหน่งของมือซ้าย ตัวเลขด้านบนและด้านล่างตรงกัน หมายถึง ดีดสองมือพร้อมกัน ตัวเลขโดด ๆ ไม่ตรงกัน ให้ใช้นิ้วในมือซ้ายหรือขวาดีดไปตามล� ำดับที่มาก่อน เครื่องหมายก� ำกับต� ำแหน่ง ของโน้ตใช้สัญลักษณ์ ๓ ชนิด คือ ๑. เครื่องหมาย “ ^ ” บนตัวเลข คือ โน้ตกลุ่มที่มีระดับเสียงสูงมาก ๒. เครื่องหมาย “ . ” (จุด) บนตัวโน้ต หมายถึง กลุ่มตัวโน้ตที่มีระดับเสียงรองลงมา ๓. ตัวเลขที่ไม่มีเครื่องหมายก� ำกับ คือ กลุ่มโน้ตระดับเสียงปานกลาง ๔. ตัวเลขที่มีขีดเส้นใต้ หมายถึง กลุ่มตัวโน้ตที่มีระดับเสียงต�่ ำสุด หมายเหตุ : ๑ = ซอล ๒ = ลา ๔ = โด ๕ = เร ตัวอย่างโน้ตพิณกู่เจิงที่ผู้เขียนออกแบบ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=