สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ชนก สาคริ ก 71 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ๕) ธาตุไฟ (การกรอสายพิณ) คือ การใช้กระดีดปัดสายพิณเข้าหรือออกเพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาน ทั้งนี้เพราะการใช้เล็บ อาจไม่แข็งแรงพอ (ท� ำให้เล็บหักได้) ในกรณีที่ต้องการเสียงสั่นไหวเป็นช่วงยาว เครื่องดนตรีประเภท พิณทุกชนิดควรใช้กระดีดจะเหมาะสมกว่า แม้การดีดเก็บแบบธาตุไม้ก็จ� ำเป็นเช่นเดียวกัน ยกเว้นในกรณี ที่ต้องการเสียงที่ทุ้มนุ่มนวลในท� ำนองเก็บ อาจใช้ปลายนิ้วโดยตรงได้ จะท� ำให้เสียงฟังนุ่มนวลไม่แข็งกร้าว เกินไป การใช้กระดีดกรอสายพิณ คือ การปัดสายพิณเข้าออกอย่างถี่และเร็ว จะเกิดเสียงสั่นไหวระรัว ต่อเนื่องกันเป็นเสียงยาว ลักษณะการสั่นไหวของปลายกระดีดมองดูคล้ายกับการสั่นไหวของเปลวไฟ จึงจัดให้การกรอเป็นธาตุไฟ นอกจากนั้น เสียงการกรอยังมีความคมชัดดุจเปลวไฟด้วย ลักษณะการใช้ กระดีดในการกรอสายพิณมี ๓ ลักษณะ คือ ๑. การใช้นิ้วจับกระดีดไว้โดยตรง ๒. การพันกระดีดติดไว้กับปลายนิ้ว ๓. การสวมปลอกนิ้วที่มีกระดีดติด ไว้แล้ว ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาแล้วคือการดีดพิณกู่เจิงตามรูปแบบของ ๕ ธาตุที่ผู้เขียนได้คิดขึ้น ซึ่งสามารถดีดพิณโบราณของจีนชนิดนี้ได้อย่างไพเราะน่าฟังเช่นกัน รูปแบบของตัวโน้ต นอกจากออกแบบวิธีการดีดพิณแล้ว ผู้เขียนยังออกแบบรูปแบบของตัวโน้ตไว้ด้วย เพื่อให้ศึกษา ท� ำนองเพลงและวิธีใช้นิ้วที่ต้องฝึกดีดได้ง่ายขึ้น ลักษณะของสายพิณกู่เจิงนั้นเรียงเสียง ต�่ ำไว้ด้านนอก เสียงสูงอยู่ด้านในใกล้กับตัวผู้บรรเลง จ� ำนวนสายพิณขนาดที่ใช้กันเป็นมาตรฐานมี ๒๑ สาย เรียงเป็นระบบ ๕ เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา หรือ อาจจะใช้สเกลอื่น ๆ ก็ได้ แต่จะมีเพียง ๕ ตัวโน้ต เท่านั้น ลักษณะการเรียงเสียงของพิณกู่เจิง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=