สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ชนก สาคริ ก 69 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ระบบเสียงของพิณกู่เจิงนั้นใช้ตัวโน้ตเพียง ๕ เสียง ดังนั้น เมื่อใช้นิ้วมือกรีดผ่านต่อเนื่องกัน ไปจึงให้เสียงที่เป็นท� ำนองอ่อนหวานไพเราะชัดเจนกว่าระบบเรียง ๗ เสียง หรือ ๑๒ ช่วงเสียง นอกจากนั้น ระบบการเรียง ๕ เสียงนี้ ยังเป็นระบบที่เกิดขึ้นในยุคแรกของประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันออกด้วย ต่อมา จึงพัฒนาเป็นระบบ ๗ เสียง และระบบ ๑๒ ช่วงเสียงของดนตรีตะวันตกในที่สุด การกรีดสายพิณให้ฟังเหมือนสายน�้ ำไหลนี้แบ่งออกเป็น ๖ รูปแบบใหญ่ ๆ คือ ๑. สายน�้ ำไหล-กรีดสายพิณเป็นช่วงยาวช้า ๆ โดยสลับมือกัน ๒. เกลียวน�้ ำวน-กรีดสายพิณเป็นช่วงสั้น ๆ และเร็วขึ้น ๓. ดอกฝนโปรย-กรีดสายพิณถี่เร็วจนเสียงเหมือนละอองฝน ๔. หยาดพิรุณไหลริน-กรีดสายพิณยาว ๆ โดยเน้นเฉพาะเสียงสุดท้าย ๕. สลัดน�้ ำค้างบนใบหญ้า-กรีดสายพิณเพียง ๓ สายเร็ว ๆ ๖. หยดน�้ ำค้างพร่างพรม-ใช้ปลายนิ้วหลายนิ้วเขี่ยสายพิณต่อเนื่องกันเป็นชุด เครื่องหมายก� ำกับการกรีดสายพิณ เนื่องจากการกรีดสายพิณกู่เจิงท� ำได้ ๒ ทิศทาง คือ กรีดเข้าหาตัวผู้ดีดและกรีดออกจาก ตัวผู้ดีด ดังนั้น ผู้เขียนจึงต้องออกแบบเครื่องหมายการกรีดก� ำกับไว้ที่ตัวโน้ตด้วย ดังนี้ กรีดสายพิณเข้ามาแบบหยาดพิรุณไหลริน กรีดสายพิณออกไปแบบหยาดพิรุณไหลริน กรีดสายพิณเข้ามาแบบสายน�้ ำไหล กรีดสายพิณออกไปแบบสายน�้ ำไหล สังเกตดูต� ำแหน่งของวงกลม ถ้าอยู่ด้านขวา กรีดเข้าหาตัว ถ้าอยู่ด้านซ้าย กรีดออกจากตัว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=