สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วิ ธี ดี ดพิ ณกู่เจิ งแบบไทย 68 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 ๒) ธาตุทอง (การดีดพิณกู่เจิงให้เกิดเป็นเสียงสะท้อนก้องไปมา) คือ การใช้นิ้วมือหรือกระดีดดีดสายพิณ ๒ เส้นที่เป็นโน้ตตัวเดียวกันสลับไปมา จะเกิดเสียง สะท้อนสูง ๆ ต�่ ำ ๆ ก้องกังวาน คล้ายกับเสียงสะท้อนเมื่อเคาะแท่งโลหะ ซึ่งใช้ “ธาตุทอง” เป็นสัญลักษณ์ จึงเรียกการดีดให้เกิดเสียงสะท้อนไปมานี้ว่า “ธาตุทอง” ลักษณะการดีดธาตุทอง ใช้นิ้วหรือ กระดีดดีดสายพิณที่เป็นโน้ตตัวเดียวกันสลับไป มาให้เกิดเสียงสะท้อนก้องกังวานไปมา คล้ายกับ เมื่อเคาะโลหะให้เสียงก้องกังวาน การกรีดสายพิณกู่เจิงสร้างเสียงที่พลิ้ว พรายดุจสายน�้ ำก� ำลังไหลท� ำให้บทเพลงไพเราะอ่อน หวานมากขึ้น เป็นการอธิบายธรรมชาติให้มีความ งดงาม ประทับใจผู้ฟัง การกรีดสายพิณธาตุน�้ ำนี้ มีหลายวิธี ๓) ธาตุน�้ ำ (การกรีดสายพิณให้มีเสียงเลื่อนไหลคล้ายสายน�้ ำ) คือ การใช้กระดีดหรือนิ้วกรีดลากไปตามจ� ำนวนสายพิณยาว ๆ ให้เกิดเสียงพลิ้วพราย ดุจสายน�้ ำก� ำลังไหลไปตามล� ำธาร อาจใช้ทีละมือหรือสองมือสลับกันไปมา โดยกรีดมือเข้ามาหรือกรีดมือ ออกไปก็ได้ การกรีดสายพิณแบบธาตุน�้ ำนี้มีหลากหลายวิธี ทั้งเร็วและช้า เพื่อให้ได้อารมณ์ที่แตกต่างกัน เช่น สายน�้ ำไหล เกลียวน�้ ำวน ดอกฝนโปรย หยาดพิรุณไหลริน สลัดน�้ ำค้างบนใบหญ้า หยดน�้ ำค้างพร่างพรม ต� ำนานจีนกล่าวว่า พิณกู่เจิงเป็นตัวแทนของสามโลก คือ แดนสวรรค์ (ส่วนที่เป็นสายพิณ) แดนมนุษย์ (ส่วนที่เป็นตัวพิณ) และแดนบาดาล (ส่วนที่อยู่ใต้ตัวพิณ) ดังนั้น ช่างดนตรีจีนจึงนิยมวาด หรือสลักลวดลายของภูมิประเทศ สัตว์ และพืชพรรณไม้ไว้โดยรอบส่วนที่เป็นตัวพิณ บริเวณสายพิณ เป็นสวรรค์ซึ่งค�้ ำไว้ด้วยภูเขา (หย่องค�้ ำ-fret) และบริเวณใต้ตัวพิณเจาะเป็นช่องรูปทรงสวยงามไว้ ๒ แห่ง แทนสระ หงส์ และมังกรในแดนบาดาล (ช่องนี้คือล� ำโพงขยายเสียงของพิณกู่เจิง)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=