สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ชนก สาคริ ก 67 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ๑) ธาตุดิน (การดีดควบเสียง) คือ การใช้นิ้วหรือกระดีด (pick) ดีดสายพิณให้ดังกังวานหนักแน่นพร้อมกันตั้งแต่ ๒ สาย ขึ้นไป เนื่องจากเป็นพื้นฐานส� ำคัญในการท� ำให้เสียงดัง หนักแน่น ก้องกังวาน และมีพลัง การดีดนั้น หากทั้ง ๒ เส้นเป็นตัวโน้ตเดียวกัน เรียกว่า ธาตุดินแท้ เพราะให้เสียงที่ดังกังวาน ชัดเจน หนักแน่น สม ตามความหมายของ “ธาตุดิน” แต่ถ้าเป็นคนละโน้ตจัดว่าเป็น “ธาตุทราย” ซึ่งถือว่าอยู่ในธาตุดินเหมือนกัน แต่เสียงจะไม่หนักแน่นเหมือน ๒ เส้นที่เป็นโน้ตตัวเดียวกัน ในกรณีที่ดีดสายพิณด้วยวัสดุแข็ง เช่น กระดีด จัดว่าอยู่ใน “ธาตุหิน” เพราะเสียงจะดังแข็งกว่าดีดด้วยปลายนิ้ว แต่รวมอยู่ในความหมายของค� ำว่า “ธาตุดิน” ทั้งหมด ภาพล่าง คือ การฝึกไล่มือในการดีดธาตุดินที่เรียกว่า “ปฐพีก่อก� ำเนิด” ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วกลางในมือซ้ายและมือขวาดีดสายพิณทีละคู่สลับกันไปมา โดยออกแรงเหนี่ยวสายพิณให้ค่อนข้าง แรงเพื่อให้มีเสียงดังกังวานชัดเจน ลักษณะการดีดธาตุดิน คือ ใช้นิ้วมือ ดีดสายพิณ ๒ ต� ำแหน่งพร้อมกันเพื่อให้เสียงดัง กังวานหนักแน่น ต� ำแหน่งเลข ๑ และ ๒ คือ โน้ตตัว เดียวกัน เนื่องจากพิณกู่เจิงใช้ระบบเสียงโน้ต ๕ ตัว (pentatonic scale) การดีดธาตุดินมีหลายรูปแบบ ผู้เขียนตั้งเป็นชื่อแปลก ๆ ไว้ด้วย เช่น ๑. ดีดแบบ “ไต่บันไดสวรรค์” คือ การดีดไล่เสียงขึ้นและลงทุกต� ำแหน่งของสายพิณ โดย สลับมือกัน ๒. ดีดแบบ “ระลอกคลื่น” คือ การดีดสายพิณเป็นชุด ชุดละ ๔ ต� ำแหน่งเรียงติดต่อกัน แล้วย้อนกลับมาตั้งต้นใหม่ที่ต� ำแหน่งเสียงถัดไปจากที่เริ่มไว้ครั้งแรก แล้วด� ำเนินไปเรื่อย ๆ จะเกิดเสียง คล้ายกับระลอกคลื่นในทะเลที่ทยอยซัดตามกันมา ๓. ดีดเฉพาะธาตุดินสลับมือกันเป็นท� ำนองชุดสั้น ๆ เช่น ชุดปฐพีก่อก� ำเนิด คือ การดีด เป็นท� ำนองเพลงสั้น ๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกไล่มือให้คล่อง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=