สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วิ ธี ดี ดพิ ณกู่เจิ งแบบไทย 66 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 มีความหมายดังนี้ ดิน เป็นธาตุที่มีลักษณะเป็นปึกแผ่น มั่นคง มีความหนักแน่น ทอง เป็นธาตุของโลหะทั้งปวง มีความสดใส ก้องกังวาน แวววาว น�้ ำ เป็นธาตุของความเลื่อนไหล พลิ้วพราย เยือกเย็น ไม้ เป็นธาตุของความมีชีวิตชีวา เคลื่อนไหว เติบโต แผ่ขยาย ไฟ เป็นแม่ธาตุของพลังอันเจิดจ้า สั่นไหว คมชัด ร้อนแรง น่าแปลกที่แนวคิดนี้สอดคล้องกับความเป็นจริงของโลกเราซึ่งประกอบไปด้วย ๕ สิ่งที่ส� ำคัญ เช่นกัน คือ ผืนดิน-หิน โลหะต่าง ๆ น�้ ำ-อากาศ พืช-สัตว์-คน พลังงานความร้อน เพราะเมื่อมีดิน มีแร่ธาตุ มีน�้ ำ และมีพลังงาน จึงให้ก� ำเนิดชีวิต คน-สัตว์-พืช ขึ้นได้ ผู้เขียนจึงประยุกต์แนวคิดนี้ให้เป็นระบบเสียง ๕ ชนิด คัมภีร์ ๕ ธาตุ เนื่องจากพิณกู่เจิงเป็นเครื่องดนตรีโบราณของชาวจีน ผู้เขียนจึงตั้งชื่อวิธีฝึกดีดพิณชนิดนี้ว่า “คัมภีร์ ๕ ธาตุ” แบ่งวิธีดีดเป็น ๕ ชนิด ตามหลักของลัทธิเต๋า แล้ววาดตัวการ์ตูนที่เป็นตัวแทน “เล่าซือ” (อาจารย์) เพื่อท� ำหน้าที่สอนวิธีดีดไว้ด้วย ดังนี้ ศิษย์ทั้งหลาย...สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนประกอบด้วย ๕ ธาตุ คือ ดิน ทอง น�้ ำ ไม้ และไฟ เมื่อได้ เรียนรู้และเข้าใจแล้วย่อมดีดบรรเลงพิณสวรรค์ได้ไพเราะน่าฟัง เมื่อธาตุทั้ง ๕ สมดุล เสียงดนตรีจึงไพเราะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=