สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เปรี ยบเที ยบเนื้ อหาและตั วละครในบทละครเรื่ องรามเกี ยรติ์ พระราชนิ พนธ์ของรั ชกาลที่ ๑ กั บมหากาพย์รามายณะของวาลมี กิ ฉบั บภาษาไทย 58 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 นอกจากนี้ ทรรศนะเรื่องความงามก็ต่างกัน ในฉบับไทยนิยมหญิงสาวที่มีอกเล็ก ไม่อวบอัด จึงมักเปรียบกับดอกบัวตูม และชมความงามของชายคล้ายกับที่ชมความงามของหญิงเพราะชมตาม ขนบวรรณคดี และไม่ชมว่ามีแขนยาวอย่างใน รามายณะ ส่วนในรามายณะนิยมหญิงที่มีหน้าอกอวบอัด และเต่งตึง จึงมักชมว่ามีอกดังผลตาลและนิยมชายรบเก่ง ดังที่บรรยายว่ามีแขนใหญ่และยาวตามล� ำดับ ในการน� ำเสนอตัวละคร ฉบับไทยมักน� ำเสนอในลักษณะที่เอื้อต่อการแสดง คือเน้นตัวละคร ส� ำคัญในฉากนั้น ๆ เช่น เมื่อชมความงามของกวางทองก็ชมแต่เฉพาะกวางทอง ไม่ชมตัวละครอื่นด้วย หรือเมื่อต้องการเน้นก็ชมพระรามมากกว่าพระลักษณ์ ทั้งยังสรุปชัดเจนว่าพระรามคู่ควรกับนางสีดา นอกเหนือจากนี้ ฉบับไทยมักเสนออารมณ์ของตัวละครและค� ำพูดเสียดสีประชดประชันซึ่งพบมาก ในวรรณคดีของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทละครใน เรื่องความสัมพันธ์ของตัวละครบางตัว พบว่าในฉบับไทยนางสีดาเป็นธิดาของทศกัณฐ์และมณโฑ ตรีเศียรเป็นพี่ของนางส� ำมนักขาและมารีศเป็นน้าของทศกัณฐ์ ส่วนใน รามายณะ สีดาไม่ใช่ธิดาของราวณะ ตริศิรัสเป็นจอมทัพในกองทัพของขระ มารีจะเป็นเพื่อนของราวณะ ด้านลักษณะนิสัย พบว่าในฉบับไทยพระรามยังรักนางสีดาแต่เกรงค� ำครหาจึงไม่ยอมรับนาง เป็นมเหสีอีก ต่อเมื่อลุยไฟแล้วจึงยอมรับ ทศกัณฐ์ไม่รักศักดิ์ศรีของตน ยอมให้นางสีดาบริภาษและยอม กราบนางสีดาเพื่อขอให้นางรับรัก แต่ก็ไม่ได้แสดงกิริยาเกรี้ยวกราดหรือดุดันกับนางและไม่ได้ท� ำร้ายนาง แต่อย่างใด นางส� ำมนักขาก็มีวาทศิลป์เมื่อขอให้พระรามรับนางเป็นชายา ส่วนกวางแปลงแสนรู้และเจ้ามารยา กว่าในฉบับรามายณะ ส่วนใน รามายณะ พระรามไม่ถนอมน�้ ำใจนางสีดา พูดตัดรอนนาง ไม่ยอมรับนาง เป็นมเหสีดังเดิม ต่อเมื่อนางลุยไฟแล้วจึงยอมรับ มีนิสัยดุดันและขู่จะกินนางสีดาเป็นอาหารหากนาง ไม่รับรักตน ทั้งยังจับหัวนางสีดาอย่างไม่ปรานี แม้รักนางสีดาแต่ราวณะรักศักดิ์ศรีมาก กล่าวว่าจะไม่ขืนใจ นางสีดาหากนางไม่ยินยอม นางศูรปนขามีนิสัยพูดตรง ไม่อ้อมค้อมเมื่อขอให้พระรามเป็นสามีของนาง นางมันโททรีเชื่อมั่นว่านางมีทุกอย่างทัดเทียมนางสีดา การศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาเปรียบเทียบรามเกียรติ์ของไทยฉบับพระราชนิพนธ์ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกับรามายณะของฤษีวาลมีกิ และเป็นแนวทาง ในการศึกษาเปรียบเทียบรามเกียรติ์ของไทยกับรามายณะของชาติอื่น ๆ ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับชาติต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียนซึ่งล้วนมีเรื่องรามายณะเป็นวรรณคดีส� ำคัญเรื่องหนึ่งว่าคล้ายหรือ ต่างกับรามเกียรติ์ของไทยอย่างไร.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=