สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ชลดา เรื องรั กษ์ลิ ขิ ต 57 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ ส� ำมนักขา/ศูรปนขา ทศกัณฐ์ลักนางสีดาโดยมีไพร่พลมาด้วย สาเหตุที่สดายุ/ชฏายุรบแพ้ทศกัณฐ์/ราวณะ สาเหตุที่นางสีดาเชื่อว่าหนุมานคือทูตของพระราม เหตุผลที่นางสีดาไม่กลับไปกับหนุมาน สาเหตุที่ไฟไหม้ ตัวหนุมาน วิธีที่หนุมานดับไฟที่หาง ทศกัณฐ์แปลงกายเป็นพระอินทร์ก่อนออกรบกับพระราม ศรที่ทศกัณฐ์ แผลงใส่พระรามกลายเป็นข้าวตอกดอกไม้ ผู้เตือนพระรามให้แผลงศรสังหารทศกัณฐ์/ราวณะ ทศกัณฐ์ สั่งลาพิเภก ๑๐ ปาก และหนุมานขยี้ดวงใจของทศกัณฐ์ ส่วนที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย เช่น ผู้ที่พาพระราม พระลักษณ์/ลักษมณะไปมิถิลา โอกาสที่ไปยังมิถิลา ธนูที่พระรามยก จ� ำนวนคู่อภิเษกที่มิถิลา นางส� ำมนักขา/ ศูรปนขาถูกพระลักษณ์/ลักษมณะลงโทษ พระรามสั่งพระลักษณ์/ลักษมณะให้คุ้มครองนางสีดาก่อน ที่จะไปรบกับทัพยักษ์ สถานที่นางสีดาเห็นกวางแปลง จ� ำนวนกวาง ผู้ปกป้องสีดาขณะพระรามไปจับกวาง ร่างแปลงของทศกัณฐ์/ราวณะ แหวนที่หนุมานถวายนางสีดา สิ่งของที่สีดาฝากหนุมานไปถวายพระราม จ� ำนวนครั้งที่หนุมานเข้าเฝ้านางสีดาและงาช้างที่ปักอกทศกัณฐ์ นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดที่มีในฉบับหนึ่งแต่ไม่มีในอีกฉบับหนึ่ง ที่มีเฉพาะในฉบับไทย เช่น พระรามสบตากับนางสีดา ความแค้นของนางค่อม ศรของทศกัณฐ์ที่แผลงใส่พระรามแล้วกลับเป็น ข้าวตอกดอกไม้ งาช้างที่ปักอกทศกัณฐ์ การครวญ ๑๐ ปากของทศกัณฐ์และการขยี้ดวงใจของทศกัณฐ์ ส่วนที่มีแต่เฉพาะใน รามายณะ เช่น ท้าวทศรถถูกสาปและราวณะขู่จะกินนางสีดา ความแตกต่างด้านตัวละคร พบว่าแตกต่างทั้งด้านรูปลักษณ์ ความสัมพันธ์ของตัวละครและนิสัย ด้านรูปลักษณ์ที่ต่างกัน เช่น ฉบับไทยพระรามงามดังเทวดา นางสีดามีร่างอ้อนแอ้นและหน้าอก งามดังดอกบัวตูม ทศกัณฐ์ไม่ได้มีตัวใหญ่ปานขุนเขาเว้นแต่เวลาโกรธ นางส� ำมนักขาไม่อัปลักษณ์ ส่วนกวางแปลงเป็นกวางทอง มีเขาดังแก้วมุกดา ปากและเท้าแดงดังสีทับทิม หูดังกลีบบัว ส่วนใน รามายณะ พระรามมีแขนใหญ่และยาวถึงเข่า นางสีดามีเอวเล็ก อกอวบอิ่ม ราวณะมีตัวใหญ่ปานขุนเขา มีล� ำคอ และแขนใหญ่ มีฟันแหลมและลิ้นเป็นประกาย นางศูรปนขาเป็นนางยักษ์แก่ มีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ ตาพิการ ท้องใหญ่ กวางแปลงก็เป็นกวางดาวและกวางรัตนะ มีปลายเขาเป็นแก้วมณี ใบหน้ามีสีเข้มและ จางดังดอกบัวหลวงและบัวเผื่อน ใบหูมีสีเหมือนบัวนิลุบล ท้องเป็นสีเขียวมรกต แผ่นหลังเป็นสีสนทะเล ขาเป็นทองค� ำ กีบเท้าเป็นแก้วไพฑูรย์และหางเป็นสีรุ้ง เมื่อพิจารณาการใช้ความเปรียบเพื่อน� ำเสนอรูปลักษณ์ของตัวละคร พบว่าในแต่ละส� ำนวน ใช้ความเปรียบตามขนบนิยมในการแต่งวรรณคดีของชาติตน ซึ่งสังเกตว่าฉบับไทยนิยมเปรียบความงาม ของหูกับกลีบบัวเท่านั้น ขณะที่ใน รามายณะ นิยมเปรียบความงามของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายกับดอกบัว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=