สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เปรี ยบเที ยบเนื้ อหาและตั วละครในบทละครเรื่ องรามเกี ยรติ์ พระราชนิ พนธ์ของรั ชกาลที่ ๑ กั บมหากาพย์รามายณะของวาลมี กิ ฉบั บภาษาไทย 56 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 1 January-March 2016 ลักษณะนิสัยของตัวละคร บทละครเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ ๑ รามายณะ ส� ำมนักขา หรือศูรปนขา ทอดไมตรีให้ชายโดยไม่อายแต่มีวาทศิลป์ ในการขอชายเป็นสามี พูดเอาประโยชน์ใส่ตน มักมากในกาม ปรารถนาจะได้ทั้งพระราม และพระลักษณ์เป็นสามี เกี้ยวผู้ชายโดยไม่อาย พูดโผงผาง พูดตรงไปตรงมา กวางแปลง แสนรู้และเจ้ามารยา แสนรู้และเจ้ามารยาน้อยกว่าฉบับไทย นกสดายุหรือแร้งชฏายุ ปากไม่ดี บอกทศกัณฐ์ว่าตนกลัวแหวนของ พระอิศวรที่นางสีดาสวมอยู่ ท� ำให้ทศกัณฐ์ ถอดแหวนนั้นขว้างใส่ ท� ำให้นกสดายุบาดเจ็บ และตกลงบนพื้นดิน แต่ก็จงรักภักดีต่อ พระรามมาก ทนความเจ็บปวดและคาบ แหวนรอถวายพระราม ไม่มีเรื่องแหวนพระอิศวรที่นางสีดา สวมใส่อยู่ หนุมาน ฉลาดและรอบคอบ กราบทูลพระรามว่าเกรง นางสีดาจะไม่เชื่อว่าตนเป็นทูตของพระราม เมื่อจะน� ำแหวนและสไบไปถวายนางสีดา ที่นครลงกา พระรามจึงให้บอกความลับ เรื่องพระรามและนางสบตากันที่เมืองมิถิลา ไม่มีเรื่องนี้ การศึกษาความเปรียบในการน� ำเสนอรูปลักษณ์ของตัวละครสะท้อนให้เห็นความคิด ค่านิยม และวัฒนธรรมเรื่องความงามที่ต่างกันในฉบับของไทยและในรามายณะของฤษีวาลมีกิ เช่น ฉบับไทย ชมอกของหญิงว่างามดังดอกบัวตูม ใบหูงามดังกลีบบัว และแขนอ่อนดังงวงช้าง แต่ในรามายณะชมว่าอกงาม เต่งตึงดังผลตาล ตางามดังกลีบดอกบัว และขางามดังงวงช้าง นอกจากนี้ ฉบับไทยยังค� ำนึงถึงวัฒนธรรม ของการน� ำเรื่องนี้ไปแสดงเป็นละครในที่มักให้มีตัวเอกหรือตัวละครโดดเด่นเพียงตัวเดียวในฉากอีกด้วย ความสรุป การใช้ข้อมูล ๗ ตอนในการศึกษาเปรียบเทียบครั้งนี้เห็นรายละเอียดที่ต่างกันชัดเจน ทั้งด้านเนื้อหาและตัวละคร ความแตกต่างด้านเนื้อหามีทั้งรายละเอียดส� ำคัญและปลีกย่อย ที่เป็นรายละเอียดส� ำคัญ เช่น สาเหตุที่นางค่อมต้องการให้พระพรต/ภรตะได้ครองอโยธยา ท้าวทศรถถูกสาป เหตุผลที่พระราม พระลักษณ์/พระลักษมณะไปมิถิลา พระรามสบตากับนางสีดา ทัพยักษ์ที่ยกมารบเพื่อแก้แค้นให้นาง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=