สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๙ * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรมเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ภาพทวารบาลที่พระมหามณฑป วัดไตรมิตรวิทยาราม * สนั่น รัตนะ ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ การเขียนภาพทวารบาลที่พระมหามณฑปวัดไตรมิตรวิทยารามเป็นการสร้างงานศิลปกรรม ตามคติความเชื่อซึ่งสืบทอดเป็นประเพณีนิยมว่า ภาพทวารบาลนั้นเปรียบเสมือนเทพยดาผู้ท� ำหน้าที่ คุ้มครอง ปกปักรักษา รวมทั้งป้องกันภัยต่าง ๆ แก่บุคคลและสถานที่ส� ำคัญไม่ให้สิ่งอัปมงคลล่วงล�้ ำ เข้าไปภายในพระมหามณฑปซึ่งประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรอันเป็นที่เคารพบูชา การเขียนภาพทวารบาล ณ สถานที่แห่งนี้ใช้วิธีการเขียนน�้ ำยาหรดาล ลงรัก ปิดทอง แล้วรดน�้ ำ เรียกกันทั่วไปว่า ลายรดน�้ ำ โดยเขียนภาพทวารบาลที่บานประตูหน้าต่างทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีรูปแบบมาจากศิลปกรรมสมัยสุโขทัย ค� ำส� ำคัญ : ภาพทวารบาล, ลายรดน�้ ำ, พระมหามณฑป, วัดไตรมิตรวิทยาราม, พระพุทธมหาสุวรรณ- ปฏิมากร ปัจจุบัน ผู้ที่ไปวัดไตรมิตรวิทยารามจะเห็นพระมหามณฑปขนาดใหญ่ ๓ ชั้น ประดับตกแต่งด้วย หินอ่อนจากเมืองการ์รารา ประเทศอิตาลี เด่นเป็นสง่าอยู่บริเวณหน้าวัด ซึ่งสร้างขึ้นระหว่างพุทธศักราช ๒๕๕๑-๒๕๕๒ รวมระยะเวลาก่อสร้างเพียง ๑๖ เดือนเท่านั้น จุดประสงค์ในการสร้างคือ เพื่อประดิษฐาน พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรหรือหลวงพ่อทองค� ำสุโขทัยไตรมิตร และเพื่อให้ทันเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่จะทรงครองราชย์ครบ ๘๐ พรรษาในพุทธศักราช ๒๕๕๒ การก่อสร้างพระมหามณฑปครั้งนี้ ผู้เขียนได้รับโอกาสจากพลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งท� ำหน้าที่สถาปนิก มอบหมายให้ผู้เขียนออกแบบและเขียนภาพทวารบาลที่บานประตูและบานหน้าต่าง ด้วยวิธีการเขียนน�้ ำยาหรดาล ลงรัก ปิดทอง แล้วรดน�้ ำ ที่เรียกว่า ลายรดน�้ ำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=